โรครากเน่า ในฤดูฝน
โรครากเน่า ในฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิด โรดนี้ระบาดมากในฤดูฝน หรือสภาพที่มีความชื้นสูง แพร่ ระบาดโดยสปอร์เชื้อรา โดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่มีน้ำแฉะตลอดเวลา
ต้นไม้ที่เกิด โรครากเน่า จะสังเกตเห็นได้ว่าอาการใบจะมีสีเหลืองซีดถึงเหลือง โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อน แล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ จากโคนใบไปถึงยอด ใบจะเขียวม้วนงอ เมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบ เหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบจะร่วงกึ่งแห้งตาย ผลมีสีเหลืองร่วงหล่นง่าย เมื่อขุดดูที่รากจะพบว่ารากฝอยเน่า ราก ถอดปลอก มีกลิ่นเหม็น รากแขนงหรือรากขนาดโตเน่าเปื่อยยุ่ย และลุกลามไปทั่ว ใบแห้ง ผลร่วง ถ้าเป็น มากอาจถึงต้นตายได้ ในเวลารวดเร็ว นอกจากนั้นขังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่ทำให้รากเน่า เช่น น้ำท่วมขัง การใช้ สารเคมีผิด และพิษจากปุ้ยเคมี เป็นต้น นอกจากนี้อาการโรครากเน่า หรือรากเปื่อยเกิดจากเห็คราที่ทำลายไม้ได้เช่นกัน เห็คราหลายชนิดเป็นสมาชิก ใน Class Ascomycetes และ Basidiomycetes สามารถทำลายส่วนที่เป็นแก่นไม้และกระพี้ของไม้ โดยปล่อย เอ็นไซม์ออกมาย่อยสลายส่วนประกอบของไม้ จะเห็นว่าส่วนมากเห็ดราจะทำลายส่วนที่มีอาหารมาก คือ ทำลายกระพี้ก่อนแล้วจึงทำลายถึงแก่นไม้ เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะเจริญและงอกเส้นใยแทงทะลุไปใน เนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้ผุพัง เส้นใขจะเข้าไปภายในเนื้อไม้ได้มากขึ้น ซึ่งการเข้าทำลายและทำให้ไม้ ผุพังแบ่ง ออกได้ 2 ระยะ คือ 1.ระยะเริ่มแรก : เป็นระยะที่เชื้อราอยู่ในเนื้อไม้และไม่มีอันตราย โดยเส้นใย ของเชื้อราจะผ่านไปตามเซลล์ของไม้ จากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง โดยการเจาะทะลุผนังเซลล์ 2.ระยะผุ : ทำให้เนื้อไม้เปื่อยยุ่ยเหมือนฟองน้ำเนื้อไม้หลุดออกเป็นหย่อม ๆ หรือมี รอยแตกตามขวางเสี้ยนไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นระยะไม้ผุรุนแรง
การป้องกันโรครากเน่า
- ป้องกันอย่าให้น้ำขังหรือแฉะที่ โคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้ เกิดโรคเชื้อราได้ง่ายนั้นเอง
- ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๊ยอินทรีย์เพื่อทำให้การ ระบายน้ำอากาศดี
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และ แสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น
- ควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้โคนต้น ราก เกิดบาค แผลเพราะเชื้อราสาเหตุจะเข้าทำลายได้ ง่าย
- หากต้นทรุดโทรม ในระยะแรกควรบำรุงต้นด้วยการให้ธาตุอาหารเสริมทางใบเพราะรากทำงานไม่เต็มที่
การรักษาโรครากเน่า
- หากสังเกตุเห็นอาการเบื้องต้นของโรครากเน่า เช่น ใบไม้มีสีเหลืองซีดถึงเหลืองเข้ม หรือใบเหี่ยวคล้าย ขาดน้ำ ใบร่วง ให้รีบสำรวจรากทันที และหากพบรากเน่า ให้ทำความสะอาดราก แล้วตัดส่วนที่เน่าออกให้ หมด แล้วทาสารเคมีกำจัดโรครากเน่า ทิ้งให้แห้ง
- เปลี่ยนดินผสมบริเวณ โคนต้นใหม่ และนำดินเก่าที่มีเชื้อรากเน่าไปทิ้งให้ห่างจากต้นไม้ที่ปรากฎอาการ
- ในกรณีที่โคนต้นมีอาการโรคโคนเน่า เป็นแผลเน่าช้ำ เปลือก แตก ยางไหล ให้ใช้มีดถาก หรือ ฉีดพ่นด้วย “วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต” เป็นต้น
👉🏻 สนใจสินค้าทางการเกษตรติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง