โรคพืช

โรคพืชก่อให้เกิดความเสียหายและมีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรทุกราย ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะมีดังต่อไปนี้หรือมากกว่านี้ก็เป็นไปได้ โรคพืชทำให้คุณภาพ ปริมาณการผลิตลดลงในบางกรณีโรคพืชอาจทำให้ผลผลิตเสียหายจนไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้ส่งผลต่อผู้ผลิต  นอกจากนั้นยังทำให้ผู้ปลูกเมล่อนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากต้องใช้สารเคมีในการป้องกัน และเสียเวลาในการดูแลรักษาต้นพืชมากขึ้น

โรคพืช : พริก

พริกเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanacious นิยมปลูกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดทั้งเผ็ดและไม่เผ็ด แม้ว่าพริกจะเป็นพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารประเภทปรุงแต่งรส แต่ก็เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจจัดอยู่ในกลุ่มของพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของชาวไทย สามารถปเจริญเติบโตได้ดีตลอดปี ขณะเดียวกันก็มีโรคและศัตรูหลายชนิดทำลายทำให้เกิดความเสียหายทั้งคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมาก

โรคพืช : ข้าว

การปลูกข้าวนั้นเกิดขึ้นควบคู่ไปกับวัฒนธรรมไทยมากว่า 5,500 ปีมาแล้ว โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญก็คือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะไว้ใส่ข้าว ในสมัยสุโขทัยศิลาจารึกยึงถูกบันทึกไว้ด้วยข้อมูลที่ระบุถ้อยคำว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ก็คือการเปิดเสรีทางการค้ากับต่งประเทศในสมัยอยุธยา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ข้าวเข้ามีมีบทบาทสำคัญในการเป็นสิ่งค้าส่งออกของประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

โรคพืช : มะละกอ

มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานมากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น)

โรคพืช : ทุเรียน

ปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า และยังมีโรคที่สาคัญอีกหลายชนิดได้แก่ โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด และอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร รวมทั้งการสับสนของเกษตรกรเกี่ยวกับโรคราสีชมพูของทุเรียน และโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดโรคไม่ถูกต้อง และทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง

โรคพืช : กล้วย

“กล้วย” เป็นผลไม้ที่เราต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับร่างกายของเรา แต่จริง ๆ แล้วประโยชน์ของกล้วยนั้น อาจมีมากกว่าที่เราเคยรู้กันมา กล้วยช่วยได้ทั้งในเรื่องของสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของความสวยความงามได้อีกด้วย และประโยชน์ของกล้วยยังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพราะถือได้ว่า เป็นผลไม้มากคุณค่าที่เราต่างคุ้นเคยกันดี ทั้งยังหารับประทานได้ง่าย และยังเชื่อว่าเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

โรคพืช : ตระกูลมะเขือ

ปัญหายอดนิยมที่มักพบในการเพาะกล้ามะเขือ หากพูดถึงพืชเกษตรที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจบ้านเรา หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “มะเขือ” ด้วยความที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูได้หลากหลาย แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าการปลูกมะเขือเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพิถีพิถันและความอดทนเป็นอย่างมาก เพราะการปลูกมะเขือเทศประกอบด้วยหลายขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน

โรคพืช : สตอเบอรี่

  เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้ทราบแล้วว่าการที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงกว่าปกติต้องปลูกในพื้นที่ใหม่และปราศจากโรคแต่บางพื้นที่แทบจะไม่สามารถเป็นไปได้และมีความจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมาหลายๆปีบ่อยครั้งที่พบว่าดินมีการสูญเสียธาตุอาหารคุณสมบัติทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องศัตรู ต่าง ๆ วัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชพวกมีอายุหลายปีแมลงและโรคทางดิน และไส้เดือนฝอย 

โรคพืช : ตระกูลกะหล่ำ

แม้จะเข้าสู่ช่วงปลายฝน หลายพื้นที่ยังมีฝน กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว บรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของ โรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อรา และมักมากับฝนเพราะช่วยให้เชื้อระบาดได้รวดเร็วพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช

 

โรคพืช : ข้าวโพด

เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้

โรคพืช : ตระกูลหอม

โรคของหอมต่างๆ และกระเทียมที่พบทั่วไปทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน คือ การระบาดเกิดได้ดีในสภาพฝนตกที่อากาศค่อนข้างเย็น หากอาการเกิดบนหอมหัวใหญ่ที่อายุใกล้เก็บเกี่ยว จะพบอาการที่คอหรือกาบด้านนอกของหัวหอม เชื้อราจะติดไปกับหัวและแสดงอาการหัวเน่าในขณะเก็บรักษา

โรคพืช : ผักบุ้ง

ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) ตามธรรมชาติเป็นพืชน้ำขึ้นและเจริญเติบโตในลักษณะลอยทอดลำต้นแผ่กระจายบนผิวน้ำ แต่ก็มีบางชนิดที่เจริญงอกงามได้ดีบนบก มีทั้งที่ขึ้นเองในธรรมชาติ และมีผู้นำเอามาปลูกเป็นการค้า เป็นพืชผักที่มีผู้นิยมบริโภคกว้างขวาง เพราะนำมาปรุงหรือประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิดทั้งสุกและดิบ มีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะไวตามินเอสูง ช่วยเกี่ยวกับสายตาทำให้สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด และก็เช่นเดียวกับผักอื่นทั่วๆ ไป ผักบุ้งก็มีศัตรูและโรคหลายชนิดขึ้นทำลายเกาะกินก่อให้เกิดความ เสียหายอยู่เสมอ

โรคพืช : มะนาว

มะนาวเป็นพืชที่ให้ผลผลิตดีในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือน สิงหาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่มะนาวล้นตลาด
จนบ้างคนเรียกว่าตลาดแตกเลยที่เดียว ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เกษตรกรผู้ปลูกจะต้องทนรับราคาถูกแสนถูก เหมือนซื้อแล้วได้เปล่า ต่างจากช่วงเดือนเมษานที่ผลผลิตมะนาวยังมีออกสู่ตลาดไม่มากนักทำให้ราคาไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป คนปลูกยิ้มได้ คนซื่อก็พอใจแต่เมื่อถึงฤดูกาลที่มะนาวออกมามากก็นับผู้บริโภคเอง เนื่องจากประโยชน์ของมะนาวมีมากไม่เพียงปรุงแต่งรสชาติอาหาร แต่ยังรวมไปถึงประโยชน์ในการเป็นเครื่องสำอางราคาถูก

โรคพืช : กาแฟ

กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงยังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักในบางจังหวัดของประเทศไทยด้วย การปลูกกาแฟตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต อาจใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี เมื่อกาแฟติดดอกแล้ว ก็อาจต้องรอจนถึง 9 เดือนจนผลสุกเต็มที่ และพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะเลือกเก็บกาแฟที่สุกเต็มที่เท่านั้น หลังจากนั้นก็จะนำผลของกาแฟที่เก็บเกี่ยวได้ เข้าสู่ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดกาแฟต่อไป ซึ่งกว่าจะได้กาแฟที่หอมกรุ่นและมีรสชาติที่ดี อาจจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าที่คุณเคยคิดไว้ก็ได้

โรคพืช : ตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้  ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่  แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ ตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน

โรคพืช : แครอท

แครอท เป็นพืชในตระกูลผักชีที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีสีสันหลากหลายทั้งส้ม แดง เหลือง ขาว และม่วง สามารถรับประทานได้ทั้งส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินและใบ แต่ส่วนหัวจะเป็นที่นิยมนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบดิบ คั้นน้ำ ผ่านการปรุงสุก หรือใช้ปรุงเป็นขนม รวมถึงอาจใช้เป็นยาก็ได้เช่นกัน

โรคพืช : ตะไคร้

โรคของตะไคร้ที่สำคัญ คือโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Helmintosporium Cymbopogi เชื้อรา Curvularia lunata เป็นเชื้อที่ทำความเสียหายกับใบ อาการเริ่มแรกเป็นรอยแผลยาว สีของใบในจุดที่ เชื้อเข้าทำลายเปลี่ยนไปจนในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีจางปลายใบแห้ง

โรคพืช : องุ่น

องุ่นมีโรคเกิดทำลายหลายชนิด นับตั้งแต่ต้นเล็กๆ ไปจนถึงระยะติดดอกออกผลจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด การที่องุ่นที่ปลูกในประเทศไทยมีโรคระบาดรุนแรงหลายชนิดก็เนื่องมาจากสภาพอากาศร้อนชื้น มีฝนตกชุก และมีการตัดแต่งกิ่งองุ่นให้ออกดอกติดผลตลอดปีจึงมีส่วนทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายเกือบตลอดปีเช่นกัน ขณะนี้ปัญหาเรื่องโรคจึงเป็นปัญหาที่สำคัญของสวนองุ่นอย่างมาก

โรคพืช : กุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณการปลูกและการใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับประเทศไทยมีเกษตรกรปลูกกุหลาบตัดดอกเป็นอาชีพจำนวนมากมานานแล้ว  เนื่องจากกุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีการปลูกและใช้อย่างกว้างขวางภายในประเทศ กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการพัฒนาพันธุ์ในเขตอบอุ่น แต่ถูกนำมาปลูกในเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เหมาะสมในการปลูกภายใต้โรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม  หากนำมาปลูกในสภาพที่ไม่เหมาะสม การให้ผลผลิตจะไม่ดีเท่าที่ควร

โรคพืช : ตระกูลมัน

โรคและไรและแมลงศัตรูอื่น ๆ ของมันสำปะหลัง โรคใบไหม้ ใบมีอาการจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ และแผลขยายตัว มีสาเหตุจากบักเตรี ความเสียหาย 30% เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูก และถ้าอุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นอาจทำความเสียหายถึง 80 % การแพร่ระบาดที่สำคัญคือ ติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยฝนหรือดิน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร

โรคพืช : ลำไย

การทำให้ลำไยให้ออกนอกฤดูปกติเหมือนกับที่หลายจังหวัดทำอยู่ขณะนี้ แม้จะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่หลายแห่งสามารถขายผลผลิตแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าปกติ แต่แนวทางนี้ต้องอาศัยกระบวนการ วิธี และข้อปฏิบัติ ตลอดจนการปลูกและดูแลที่ปลีกย่อย ใส่ใจทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การป้องกันแมลง/โรค (ซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน) จึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะเอื้อประโยชน์แล้วทำให้ผู้ปลูกประสบความสำเร็จได้ทุกราย

โรคพืช : เงาะ

อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำที่บนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ กรณีพบราดำขึ้นปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้ และมีดอกร่วง ถ้ามีราดำขึ้นปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวย ผลดูสกปรก จำหน่ายไม่ได้ราคา

โรคพืช : ผักสลัด

ในแต่ละวันเกษตรกรจะต้องตรวจสอบคุณภาพของผักทุกต้น เพื่อให้มั่นใจว่าผักทุกต้นมีคุณภาพและให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งหากพบว่าต้นใดหรือโต๊ะไหนเริ่มมีอาการของโรคพืชหรือมีความผิดปกติก็จะรีบทำลายโรคพืชและป้องกันไม่ให้เกิด ส่วนการพ่นละอองน้ำนั้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จะต้องเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผักอย่างสม่ำเสมอ

โรคพืช : ขึ้นฉ่าย

โรคที่พบทั่วไปของขึ้นฉ่าย ได้แก่ โรคใบจุดไหม้ที่เกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas syringae โรคใบ ไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Septoria apii และ Septoria apii แต่โรคที่ส าคัญของขึ้นฉ่ายในพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนได้แก่โรคต้นเหลือง โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum และโรคใบจุด จากเชื้อรา Cercospora sp.

โรคพืช : ตระกูลถั่ว

 ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมบริโภคตลอดปี รวมทั้งยังเป็นพืชผักที่ส่งออกเป็นสินค้าไปขายต่างประเทศที่สำคัญ ในรูปแช่แข็งอีกด้วย แต่ถั่วฝักยาวนอกจากคนจะชอบกินแล้ว พวกหนอนและแมลงก็ชอบมากด้วยเช่นกัน เกษตรกรที่ปลูกถั่วฝักยาวจึงต้องประสบกับปัญหาแมลงศัตรูของถั่วฝักยาวอย่างหนัก ทำให้ต้องมีการฉีดพ่นยากันบ่อย ๆ จึงจะป้องกันกำจัดได้ แต่การฉีดพ่นยามากและบ่อยเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อคน, สัตว์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย  เกษตรกรก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การปลูกถั่วฝักยาวเพื่อเป็นการค้า หากเกษตรกร ศึกษาถึงการใช้ยาให้เหมาะสมและถูกต้องจะช่วยให้ตัวเกษตรกรเองลดต้นทุนการผลิตลงได้ และตัวผู้บริโภครวมทั้งสิ่งแวดล้อมก็จะปลอดภัย

โรคพืช : โหระพา

สวนผักที่ขายพืชปรุงแต่งกลิ่นรสกับข้าว มักจะปลูกพืชเหล่านี้ คือ กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ พริก อยู่ในสวน สามารถเก็บขายได้ทุกวัน ถ้ามีผู้ต้องการซื้อ ผักเหล่านี้ปลูกในดินมีสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน แต่ผักอ่อนแอไม่เท่ากัน โหระพาค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อราโรคพืชในดิน จึงพบบ่อยว่าถูกเชื้อราเข้าทำลายทางรากทำให้มีอาการเหี่ยวหรือราเมล็ดผักกาดกินรากและโคนต้นทำให้โคนเน่ารากเน่าเหี่ยวตาย
cacti, desert, green

โรคพืช : กระบองเพชร

บ่อยครั้งที่เรารับต้นใหม่เข้าบ้าน ทำให้เราไม่รู้ประวัติของต้นก่อนจะมาถึงเรา และไม่ทราบสาเหตุ ที่ทำให้เรานำไม้มาปลูกแล้วเกิดปัญหา ต้นไม่โต รากไม่เดิน หรือแย่สุดคือ รากเน่าจนกินเข้ามาจนถึงแกนต้น และเน่าลามจนเกิดเยี่ยวยา