แมลงศัตรูพืช ที่ต้องระวังช่วงฤดูหนาว
แมลงศัตรูพืช ในช่วงฤดูหนาว แมลงศัตรูพืชบางชนิดสามารถสร้างความเสียหายให้กับพืชผลได้ แม้ว่าจะมีความหนาวเย็นก็ตาม ต่อไปนี้เป็นแมลงศัตรูพืชที่พบได้บ่อยในฤดูหนาวและวิธีป้องกัน
1. เพลี้ยอ่อน (Aphids)
ลักษณะ: เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวนิ่ม สีเขียว เหลือง หรือดำ
ลักษณะการทำลาย: เพลี้ยอ่อนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อน และดอกทำให้หงิกงอเป็นคลื่น หากมีการระบาดมากๆ จะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ให้ผลผลิตลดลง คุณภาพผลผลิตต่ำ หรือไม่ไม่ได้ผลิตเลย บริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดมักจะพบเห็นมดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมาซึ่งทำให้เกิดราดำนอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำไวรัสมาสู่พืชทำให้เกิดโรคใบด่าง (Mosaic) ซึ่งเป็นโรคของใบที่สำคัญมากของถั่วฝักยาว มีมดเป็นตัวนำพามา จึงควรหาทางกำจัดมดไม่ใม่ให้เข้าไปในแปลูกตัว
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
ลักษณะ: มีขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน
ลักษณะการทำลาย:
เพลี้ยไฟทำลายโดยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ดอก ผลอ่อน อาการที่ใบอ่อน เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนทำให้ใบเป็นแผล ถ้าระบาดทำลายรุนแรงใบจะไหม้ หงิกงอ ขอบใบม้วนขึ้น แห้งทั้งใบและร่วงในที่สุด การทำลายที่ผลอ่อนทำให้เกิดแผลที่ผิวเปลือก มีสีน้ำตาตาล กร้าน มียางไหลอกมา ทำให้ผลไม่เจริญเติบโต ผิวเปลือกที่ถูกทำลายจะมีลักษณะขรุขระเป็นขี้กลาก ไม่สวยงาม ขายไม่ได้ราคา
3. หนอนใยผัก (Diamondback Moth Larvae)
ลักษณะ: มีลักษณะเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้
ลักษณะการทำลาย: หนอนชนิดนี้ สามารถเข้ากัดกินทำลาย ผลผลิตได้ในทุกช่วงการเจริญเติบโต ไม่ว่า จะเป็นต้นอ่อนต้มกล้า หรือต้นที่โตแล้ว เป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะ กับคนปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ มักเข้าทำลาทำลายกินใบอ่อนโดยเฉพาะบริเวณยอดหากโดนกัดกินทำลายรุนแรง จะทำให้ต้นกะหล่ำะหล่ำไม่ห่อหัว หรือกะหลำที่ห่อหัวแล้ว ก็อาจจะมีหนอนชนิดนี้ หลบซ่อนเพื่อกัดกินอยู่ภายใน
4. แมลงหวี่ขาว (Whiteflies)
ลักษณะ: เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมีขนาด 2 มิลลิเมตร มีปีก 2 คู่ สีขาวอ่อน
ผลกระทบ: แมลงหวี่ขาวสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนของพืช การทำลายของตัวอ่อนทำให้เกิดเป็นจดสีเหลืองบนใบพืช ใบพืชหงิกงอขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็น และเที่ยว หากพบทำลายในปริมาณมากอาจทำให้พืชตายได้ นอกจากนี้ยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างในพืชต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลตลดลง
5. เพลี้ยจักจั่น (Leafhoppers)
ลักษณะ: มีสีเขียวอ่อนและอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีก ขนาดลำตัวยาว
ผลกระทบ: เพลี้ยจักจั่นสีเขียวอพยพเข้าแปลงข้าวทันทีหลังจากเป็นต้นกล้า และมีปริมาณมากที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและลำต้นข้าว ทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโตและอาจแห้งตายได้ถ้ามีปริมาณมาก
วิธีป้องกัน แมลงศัตรูพืช ฤดูหนาว
- หมั่นตรวจสอบแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการสะสมของแมลง
- รักษาความสะอาดในพื้นที่ปลูก ลดเศษซากพืชที่อาจเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง
👉🏻 สนใจสินค้าทางการเกษตรติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง