โรคมะละกอ ที่มาพร้อมกับฝน
โรคมะละกอ เชื้อรายอดฮิต ที่มาพร้อมกับฝน หากไม่มีการจัดการเชื้อราที่ดีนั้น จะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ มาดู โรคมะละกอที่มักพบบ่อย
โรครากเน่า โคนเน่า
ผเป็นหนึ่งโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ ต้องปวดหัว เมื่อเกิดโรคขึ้นมาในแปลงปลูกมะละกอ
ลักษณะอาการหลัก: ใบมะละกอเหี่ยวแห้งตายและร่วง ลำต้นกล้าแห้งตายอย่างรวดเร็วเมื่อถอนดูจะไม่มีระบบรากเหลืออยู่ ในมะละกอต้นโตจะแสดงอาการรากเน่า ทำให้ก้านใบลู่ลง ใบเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วทำให้เหลือแต่ยอดซึ่งมีก้านใบสั้นๆ
ผลมะละกอจะเหี่ยวหรือสุกเหลืองก่อนแก่ และมีเส้นใยของเชื้อราเจริญคลุมผล ต่อมาโคนจะเยิ้มแฉะ เนื้อเยื่อชุ่มน้ำสีน้ำตาลเปื่อยยุ่ย เมื่อสภาพอากาศชื้นจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญฟูที่ผิวทำให้ลำต้นหักพับที่บริเวณโคนได้ง่าย
การแพร่ระบาดของเชื้อราทางดินในสภาพอากาศที่มีน้ำขัง และมีสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราพิเทียมและเชื้อไฟท๊อปธอร่า ในดินจะทำให้ต้นกล้าตายในช่วงระยะก่อนและหลังงอก เชื้อราจะเข้าทำลายรากและลุกลามสู่โคนต้น
โรคแอนแทรคโนส เป็นอีกโรคที่ผู้ปลูกมะละกอไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเกิดโรคในแปลงปลูกขึ้นมาแล้วจะทำความเสียหายให้กับผลผลิตเป็นอย่างมาก
ลักษณะอาการหลัก:
ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจางและมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวฯแผล ซึ่งคื่อส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา
ผล จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว และมีความชื้นสูง เชื้อสาเหตุของโรคจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน และฟักตัวยังไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฎอาการเมื่อผลมะละกอสุก
โรคใบด่างจุดวงแหวน เป็นโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ มักเป็นกังวลอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ จะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
ลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค
เกิดจากการที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน หรือแมลงหวี่ขาว ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อเพลี้ยอ่อนย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถูกถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก หลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะติดโรคให้เห็น
วิธีป้องกันและควบคุมโรค
- ไม่ควรปลูกมะละกอไว้นานเกิน 2 ปี เพราะผลผลิตมะละกอจะสูงสุดใน 2 ปีแรกเท่านั้น นอกจากนี้มะละกอต้นแก่ยังเป็นแหล่งสะสมโรคทำให้แพร่ระบาดไปยังต้นปลูกใหม่ได้ พลิกดินขึ้นใหม่ให้โดนเเดดประมาณ 3 เดือน ก่อนที่จะลงปลูกมะละกอชุดใหม่
- ตัดทำลายมะละกอที่แสดงอาการเป็นโรคใบด่างทิ้งทันทีที่สังเกตเห็น ถ้ากรณีเกิดการระบาดหนักมาก อาจต้องโค่นต้นที่เป็น และนำไปเผาทำลาย
- ในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเพียงพอ หรือดินที่มีความชื้นพอ ถ้าปลูกมะละกอในช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงหน้าแล้งตั้งแต่เดือนกันยายน – มีนาคม จะทำให้การระบาดของโรคน้อยลง พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลดี
- ดูแลและบำรุงต้นมะละกอให้ดีจะทำให้ต้นแข็งแรง ได้ลูกเร็วสามารถลดการทำลายของโรคลงได้ มะละกอเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยดีมาก ดังนั้นการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมีจึงได้ผลคุ้มค่า ผลดก และรสชาติดี
- ปลูกมะละกอพันธุ์ทนทานโรค เช่น พันธุ์ฟลอริด้าทอเลอแร้นท์ ซึ่งเป็นมะละกอพันธุ์รับประทานผลสุก ผลมีลักษณะกลม เล็ก น้ำหนักผลประมาณ 400-700 กรัม/ ลูก
แนะนำเช็ตคู่ วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต + ฟูกรีน XL สูตรพรีเมี่ยม ช่วยป้องกันเชื้อราในโรคพืชและยับยั้งไม่ให้เชื้อลุกลาม พร้อมบุำรงด้วย #ฟูกรีน ช่วยเร่งการเจริญเติบโต รากเดินไว ใบเขียว พืชสมบูรณ์🌱
#ฟูกรีน #โรคพืช #ฟื้นฟูพืช
👉🏻 สนใจสินค้าทางการเกษตรติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง