โรคใบจุดสีม่วง ในพืชตระกูลหอม
เตือนระมัดระวัง โรคใบจุดสีม่วง ที่มักพบในพืชตระกูลหอม-กระเทียม โดยเฉพาะเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากช่วงนี้อากาศเย็น มีหมอกและน้ำค้างลงจัดในช่วงเช้า ประกอบกับ ความชื้นในอากาศสูง ซึ่งเหมาะสมต่อการเกิดเชื้อราสาเหตุชนิดนี้ให้เจริญเติบโต แพร่ระบาดและ ทำความเสียหายรุนแรง ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของ กลุ่มผงสีเทา หรือสีฟางข้าว แผลเป็นวงรี ให้รีบดำเนินการจัดการและการป้องกันการแพร่ระบาด หรือ ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อการควบคุม และหา แนวทางป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
ลักษณะอาการ อาการเริ่มต้นจะพบแผลจุดสีเทากระจาย ระยะนี้มักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคราน้ำค้าง เนื่องจาก สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการระบาดเหมือนกัน แต่อาการโรคใบจุดสีม่วงลุกลามจากแผลจุดสีเทา จะเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว แผลขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปรี ชอบแผลเป็นสีม่วง กลางแผลเป็นสีน้ำตาล รอบแผล มีสีฟางข้าวล้อมรอบ และปรากฎมีสปอร์เป็นผงสีดำเกาะอยู่ ในหอมหัวใหญ่หอมแดงอาการดังกล่าว จะชัดเจนมาก แต่ในกระเทียมอาจจะมีสีม่วงเห็นชัดเจนบ้างในบางแผล บางครั้งอาจเห็นเป็นแผลสีน้ำตาล เมื่อแผลหลายแผลขยายต่อกันทำให้เกิดอาการไหม้ ใบเหลืองแห้งหักพับและตายหลังจากอาการ ปรากฎได้ 3 – 4 สัปดาห์ ทำให้หอม-กระเทียมไม่ลงหัว หรือถ้ากำลังอยู่ในระยะลงหัว ก็จะไม่เจริญเติบโต และเก็บไว้ได้ไม่นาน เพราะเชื้อราที่ติดไปจากไร่นาจะทำให้ผลผลิตเกิดอาการเน่าต่อได้ โดยทำให้หัวเน่า และเกิดแผลสีเหลืองในตอนแรก ต่อมาก็เป็นสีแดงเหล้าองุ่นและกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำในเวลาต่อมา
การแพร่ระบาด โรคระบาดโดย สปอร์ของเชื้อแพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง เครื่องมือการเกษตร และเมล็ดพันธุ์ ราอยู่ข้ามฤดู โดยสปอร์ปนอยู่กับเศษซากพืชในดิน โรคระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น มีความชื้น สูง จึงพบโรคระบาดในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างลงจัดหรือปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว โดยปกติจะพบโรคระบาดในระยะ หอมกระเทียมโตหรือลงหัวแล้ว แต่บางครั้งอาจพบเมื่อต้นยังเล็ก ถ้าปลูกพืชล่าช้า ในขณะที่แปลงข้างเคียง มีโรคระบาดอยู่แล้ว โรคจะระบาดรุนแรงมากถ้ามีเพลี้ยไฟร่วมเข้าทำลาย
การป้องกันกำจัด
- ก่อนปลูกพืชควรใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน โดยค่า pH ของดินที่เหมาะแก่ การปลูกพืชสกุลหอมกระเทียม
- ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค ก่อนปลูกควรแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่เหมาะสม เช่น วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต
- ดูแลแปลงปลูกให้สะอาด ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค
- ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่เหมาะสม เช่น อะซ็อก ซีสโตรบิน ไอโพรไดโอน หรือไดฟีโนโคนาโซล อย่างใดอย่างหนึ่ง และควรพ่นสลับกับแมนโคเซบ เพื่อป้องกัน การดื้อยาของเชื้อสาเหตุ
- ป้องกันกำจัดแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ ด้วย #ไทอะมีทอกแซม25ดับเบิลยูจี
- ปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมหมุนเวียน เพื่อลดการระบาดของโรค
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า ได้ที่ เพจ Facebook : วัคซีนซุปเปอร์ไบโอฟิต หรือ โทร 065-929-9845