โรคพุ่มแจ้ ระบาดในมันสำปะหลัง
โรคพุ่มแจ้ ลักษณะคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ ใบยอดมันสำปะหลังจะหยิกงอ แคระแกร็น และแตกเป็นฝอยค่อนข้างมาก หากเป็นโรคพุ่มแจ้จะทำลายผลผลิตในไร่มันสำปะหลังเสียหายกว่า 70% โดยสาเหตุกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะของโรค และมีต้นวัชพืชสาบม่วงที่เป็นพืชอาศัย หากเชื้อเพิ่มปริมาณมากจะเข้าไปอุดตันท่อลำเลียงอาหารของพืช ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น พืชจะแตกตาข้างมาเพื่อความอยู่รอด ยอดมีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลือง
สาเหตุ โดยสาเหตุกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะของโรค และมีต้นวัชพืชสาบม่วงที่เป็นพืชอาศัย
ลักษณะอาการ หากเชื้อเพิ่มปริมาณมากจะเข้าไปอุดตันท่อลำเลียงอาหารของพืช ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น พืชจะแตกตาข้างมาเพื่อความอยู่รอด ยอดมีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลือง กรณีระบาดรุนแรงมันสำปะหลังจะยืนต้นตาย สังเกตบริเวณท่ออาหารใต้เปลือกลำต้นหรือหัวเปลี่ยนเป็นเส้นสีน้ำตาลดำ
ระยะ 1-2 เดือนหลังปลูก : ยอดแตกพุ่มฝอย ใบเหลือง และยืนต้นตาย
ระยะ 4-5 เดือนหลังปลูก : ต้นแคระแกรน แตกยอดเป็นพุ่มฝอย
ระยะใกล้เก็บเกี่ยว : เชื้อลุกลามลงหัว ทำให้หัวมีเส้นดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
การแพร่ระบาด
- การนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่มีโรคมาปลูก
- เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมันสำปะหลังที่มีโรคเป็นพาหะถ่ายทอดเชื้อไปยังต้นอื่น
- ต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรค
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ มีต้นวัชพืชสาบสีม่วงที่มีสีของดอกสาบม่วงเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นใบสีเขียวขึ้นอยู่ในแปลงปลูกหรือไม่ หากพบควรถอนกำจัดไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อตัดวงจรโรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง
- ระยะที่ 1 เดือนหลังปลูก หากพบต้นแตกยอดเป็นพุ่มผิดปกติให้ถอนทิ้ง
- ระยะที่ 4 เดือนหลังปลูก หากพบต้นที่แตกยอดพุ่มให้หักกิ่งต่ำจากบริเวณพุ่มประมาณ 30 เซนติเมตรทิ้ง และพ่นสารกำจัดแมลงให้ทั่วแปลงเพื่อกำจัดเพลี้ยจักจั่นที่เป็นพาหะนำโรค
- ใช้ท่อนพันธุ์ที่ขยายพันธุ์มาจากต้นหรือแปลงที่ไม่เป็นโรค
- ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งโดยเผาทำลายเพื่อทำลายแหล่งของเชื้อไม่ให้แพร่ระบาดโดยแมลงต่อไป
- บำรุงต้นมันสำปะหลังให้แข็งแรง โดยการให้ปุ๋ย น้ำ และปรับปรุงดินอย่างเหมาะสม เพื่อให้ต้นแข็งแรง
👉🏻 สนใจสินค้าทางการเกษตรติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง