6 โรคพริกที่มักพบบ่อย

โรคพริก สาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เตือนเกษตรระวังและเรียนรู้สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ อีกทั้งวิธีการป้องกัน และการกำจัด โรคพริก อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพ พริก มีหลายโรคด้วยกัน หากดูแลต้นพริกหลังการปลูกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ทั่วถึงแล้ว ก็จะพบกับอาการของโรคพริก ดังนี้

1.โรคเหี่ยว

เชื้อแบคทีเรียจะเข้าทำลายทางรอยแผลที่เกิดจากการเขตกรรม หรือแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของแมลงหรือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดอาการเหี่ยวเขียวกระจายเป็นกลุ่มๆ ยอดและกิ่งใบจะลู่ลงในช่วงกลางวัน และฟื้นตัวในช่วงกลางคืน ในขั้นรุนแรง จะเหี่ยวและยืนต้นตายขณะที่ใบยังเขียวอยู่ได้ภายใน 2 ถึง 3 วัน

การป้องกันและกำจัด

  • ถอนต้นที่เป็นพริกออกไปทำลายด้วยการเผา
  • ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่ว

2.โรคใบหงิกเหลือง

เกิดจากเชื้อไวรัสใบหงิกเหลือง ที่ทำให้ใบพริกด่างเหลือง และโปร่งแสงระหว่างเส้นใบหรือเส้นใบเหลืองเป็นร่างแหบริเวณโคนใบและขอบใบ ใบโค้งงอคล้ายรูปถ้วย กลางใบหงิกย่น ผลผลิตลดลง ต้นพริกหยุดการเจริญเติบโต โรคนี้มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ พบระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง โดยมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กระเจี๊ยบมอญ แตงกวา พืชตระกูลถั่วบางชนิด บวบเหลี่ยม พริก ฟักเขียว ฟักทอง มะเขือเทศ มะระจีน กระทกรก ครอบจักรวาล พันงูเขียว มะเขือยักษ์ ไม้กวาด สาบแร้งสาบกา ผักแครด และหญ้ายาง

การป้องกันและกำจัด

เลือกพันธุ์พริกที่มีความต้านทานต่อโรค

  • หมั่นสำรวจ หากพบต้นพริกที่มีอาการของโรค ให้ทำการถอนออกทั้งต้น ไปเผาทำลาย
  • กำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยและสะสมเชื้อไวรัส
  • ปลูกพืชพมุนเวียนสลับกับการปลูกพริก

3.โรคใบจุดตากบ

มีเชื้อสาเหตุคือ เชื้อรา ทำให้เกิดแผลวงกลมหรือทางยาว มีขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม เนื้อแผลสีน้ำตาลอ่อน กลางแผลสีเทา หรือขาวที่บริเวณ ใบ ลำต้น ผล และก้านผล ในขั้นรุนแรง แผลจะขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หรือหลุด พบการระบาดในสภาพอากาศร้อนชื้น มีลมและสัตว์เป็นพาหะ เชื้อสาเหตุของโรคนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในซากพืช ในดิน และเมล็ดพันธุ์

การป้องกันและกำจัด

  • ไม่ควรปลูกต้นพริกแน่นหรือชิดกันจนเกินไป ควรปลูกเว้นระยะตามคำแนะนำในบทความ การปลูกพริก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยลดความชื้น และป้องกัน โรคพริก
  • เมื่อพบการเกิดโรค ให้รีบกำจัดในทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

4.โรคราแป้ง

เกิดจากเชื้อราที่มักระบาดในฤดูหนาว สังเกตเห็นอาการเริ่มต้นที่มีผงคล้างแป้งสีขาวปกคลุมใบแก่ส่วนล่างของลำต้น หรือส่วนอื่นๆ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน หรือผลอ่อน ให้ผิดรูปร่าง และดูดน้ำเลี้ยงทำให้เหลืองและต้นแห้งตาย

การป้องกันและกำจัด

  • กำจัดซากพืช และวัชพืชในแปลงให้หมด

5.โรครากปม

เกิดจากไส้เดือนฝอย ใช้ปากแทงเนื้อเยื่อแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากรากเป็นอาหาร ทำให้ต้นพริก ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและขนาดเล็กลง รากเป็นผม และเน่า ต้นแคระแกร็น เหี่ยว ใบเหลือง จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เข้าทำลายต้น และต้นตายได้ การแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยนั้น จะไปกับดิน น้ำ ต้นกล้า และเครื่องมือที่ใช้ในแปลงปลูกที่มีไส้เดือนฝอย

การป้องกันและกำจัด

  • หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้น พริก ไปเผาทำลาย
  • ก่อนและหลังปลูกควรไถพลิกหน้าดินตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน

6.โรคกุ้งแห้ง

เกิดจากเชื้อรา เริ่มต้นอาการที่ด้านบนของใบเป็นแผลกลมสีน้ำตาล อาจมีขอบสีเหลืองหรือวงสีน้ำตาลซ้อนกันคล้ายโรคกุ้งแห้ง โรคนี้มักเกิดที่ผลมากกว่าที่ใบ บริเวณรอยเจาะของแมลงวันผลไม้ หรือเนื้อเยื่อที่บาง ผลจะเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดและแห้งจากการขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน ในสภาวะอากาศชื้น มักเกิดเส้นใยคล้ายกำมะหยี่สีดำปกคลุมแผล

การป้องกันและกำจัด

  • ดูแลและบำรุงต้นพริกให้ได้รับธาตุอาหารครบถ้วน

วิธีป้องกันและกำจัด

แนะนำ ฉีดพ่นด้วย วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต

มีคุณสมบัติดังนี้


1. ฮอร์โมน ซุปเปอร์ไบโอฟิต วัคชีนพืช ปลอดภัยต่อผู้ใช้

2. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ป้องกันโรคพืช

3.เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับพืช

4. ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับต้นพืช

5. กระตุ้นให้พืชผลิตสารอาหารที่พืชต้องการมากขึ้น

6. มีไคโตซาน ในสัดส่วนที่พืชต้องการซึ่งเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

7. ทำให้พืชแข็งแรง โตไว ทนทานต่อโรคได้ดียิ่งขึ้น

8. ช่วยยับยั้งและสร้างภูมิต้านทานโรคพืชให้กับพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราบางชนิด โดยจะซึมผ่านเข้าทาง ผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช

9. กรณีที่เกิดโรคพืชจะช่วยรักษาโรคพืช และสร้างภูมิต้านทานให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ ป้องกันและกำจัดโรคพืชกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานได้ดี

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า ได้ที่ เพจ Facebook : วัคซีนซุปเปอร์ไบโอฟิต หรือ โทร 065-929-9845

โรคพริก

👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ เพจ:  วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต

บทความอื่นๆ

Similar Posts