แมลงศัตรูพืช ที่ระบาดหน้าหนาว
เข้าสู่ช่วงอากาศชื้นและหนาวเย็นเกษตรกรจะต้องระวังแมลงศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพืชที่อ่อนแอต่อโรค ทำให้โรคพืชและแมลงศัตรูเข้าทำลายผลผลิตได้ง่าย แมลงศัตรูพืชที่มักพบหน้าหนาว ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดการระบาดจึงสามารถลดความรุนแรงและไม่เกิดความเสียหายกับผลผลิต มาดูกันว่า แมลงศัตรูพืช ที่ต้องระวังมีลักษณะแบบไหน พบมากสุดในพืชชนิดไหน พร้อมวิธีป้องกันและกำจัด
แมลงศัตรูพืช ที่มักระบาดในช่วงหน้าหนาว
- เพลี้ยอ่อน
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย : เพลี้ยอ่อนเป็นศัตรูของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอด ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคพืชหลายชนิด เพลี้ยอ่อนพบระบาดมากในช่วงอากาศค่อนข้างแห้งแล้งหรือในฤดูหนาว
ลักษณะ : เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดตัวเล็ก ขนาด 1-2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีการลอกคราบเป็นระยะตัวอ่อน 4-8 วัน ตัวเต็มวัยมีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก รูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายลูกแพร์ หัวและอกเล็ก ส่วนท้องโต พบตามใต้ใบพืช การแพร่กระจายมีผลต่อการบินของตัวแมลง อาจทำให้แมลงต้องร่อนลงเพื่อหาที่หลบซ่อน กระแสลมยังทำให้รูปแบบการบินอพยพเปลี่ยนแปลงไป
2. เพลี้ยแป้ง
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย : เพลี้ยแป้งเข้าทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยง โดยใช้ส่วนของปากที่เป็นท่อยาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น เพลี้ยแป้งสามารถระบาดและทำลายมันสำปะหลังในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนในปากที่เป็นท่อยาวของเพลี้ยแป้งที่กำลังดูดน้ำเลี้ยง อาจมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถูกขับออกมาด้วย ทำให้ส่วนลำต้นที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง มีข้อถี่มาก มีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก โดยส่วนของยอด ใบ และลำต้นอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลทำให้ท่อนพันธุ์แห้งเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น โดย ให้ความงอกต่ำและงอกช้ากว่าปกติมาก เพลี้ยแป้งบางชนิดอาจเป็นพาหนะของเชื้อไวรัสเข้าสู่พืชก็ได้
ลักษณะ : เป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ เพลี้ยแป้งหางสั้น และเพลี้ยแป้งหางยาว ลักษณะตัวเพลี้ยมีขนาดเล็ก และมีสีขาว เพราะถูกสารขี้ผึ้ง ซึ่งขับออกมาคลุมตัวเพลี้ยไว้ และมีขาอ่อนเจริญออกมารอบตัวทำให้เคลื่อนที่ไปมาได้แต่ช้ามีลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งคลุมตัว ปากเป็นแบบดูดกิน
3. เพลี้ยไฟ
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย : เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ
ลักษณะ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใบอ่อน ดอก ก้านช่อดอก และผลอ่อน ระยะไข่ 4 – 7 วัน ตัวอ่อนวัยที่หนึ่งมีสีขาวใส ตารวมสีแดง ส่วนตัวอ่อนระยะที่สองสีเหลืองเข้ม
วิธีป้องกันและกำจัด
กำจัด เพลี้ย ด้วย #ไทอะมีทอกแซม25ดับเบิลยูจี ตัวช่วยในการกำจัดเพลี้ย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยทุกชนิด ที่เข้ามาทำลายพืชสวน ทำให้ได้รับความเสียหายและพืชต้องเป็นโรคและตายลงไป
👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง