เพลี้ยไฟ ข้าวโพดศัตรูตัวร้ายที่ต้องระวัง

เพลี้ยไฟ ในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สภาพอากาศในช่วงอากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกข้าวโพด รับมือเพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ ข้าวโพดเป็นศัตรูตัวร้ายที่ต้องระวัง ในภาวะแห้งแล้ง มักจะพบเพลี้ยไฟบนต้นข้าวโพด ที่สามารถพบเจอได้ในระยะออกดอกจนถึงระยะติดฝัก ส่วนใหญ่มักจะพบ เพลี้ยไฟข้าวโพดได้ 2 ระยะ คือ

1.ระยะที่ข้าวโพดต้นเล็ก จะถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบแสดงอาการรอยด่างสีขาว เหลืองซีดกระจ่ายทั่วใบ

2. ระยะข้าวโพดออกดอก เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ไหมข้าวโพด หากเพลี้ยไฟลงทำลายไหมก่อนการผสมเกสร จะทำให้ไหมแห้งติดฝักที่ได้ไม่ติดเมล็ดหรือเป็นข้าวโพดฟันหลอขึ้น

การควบคุมและป้องกัน

  1. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อสังเกตกลุ่มไข่ ร่องรอยการทำลายหรือตัวอ่อน เมื่ออายุประมาณ 21 วัน เป็นต้นไป
  2. กำจัดด้วยพืชสมุนไพร เช่น กระเทียม สาบเสือแห้งหรือสด
  3. ปล่อยแมลงช้างปีกใส
  4. หรือพ่นสารฆ่าแมลง – สารไทอะมีทอกแซม 35% FS อัตรา 5 มล./น้ำ 20 ลิตร , สารอิมิดาโคลพริด 60% FS อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร , สารอิมิดาโคลพริด 70% FS อัตรา 5 มล./น้ำ 20 ลิตร

สำหรับสาร 3 ชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่ม 4a ซึ่งเป็นสารที่มีพิษต่อผึ้ง และแมลงผสมเกสรค่อนข้างสูง

**ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการฉีดพ่นด้วยนะครับ**

👉🏻 สนใจสินค้าทางการเกษตรติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง

บทความอื่นๆ

Similar Posts