สวนมะนาวเตรียมรับมือ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม
ชาวสวนมะนาวให้เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง อาจส่งผลให้แมลงศัตรูพืชเข้าทำลายผลผลิตมะนาวในช่วงนี้ได้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะนาวให้เฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม สามารถพบได้ในระยะที่มะนาวแตกตาใบและยอดอ่อน โดยเริ่มแรกบริเวณตาหรือยอดอ่อนจะพบกลุ่มตัวอ่อน และมูลหวาน ซึ่งอาจพบเชื้อราดำปกคลุมอยู่ ยอดอ่อนที่ถูกทำลายจะหงิกงอและเหี่ยวแห้ง หรือพบตัวเต็มวัยสีเทาส้มเกาะอยู่ที่บริเวณยอดทำมุม 45 องศา
เพลี้ยไก่แจ้ส้มมักพบระบาดทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยพบเพลี้ยไก่แจ้ส้มเริ่มระบาดรุนแรงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออก ต่อมาได้แพร่กระจายสู่แหล่งปลูกภาคกลางที่จังหวัดปทุมธานี มักพบไข่และตัวอ่อนในระยะส้มเขียวหวานแตกยอดอ่อนโดยพบปริมาณมากช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
การระบาดของ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม🍋
ก่อนอากาศร้อนเพลี้ยไก่แจ้ส้ม จะหลบอยู่ใต้ใบ หากอากาศเริ่มร้อนจะขึ้นมาวางไข่บนใบยอดอ่อน จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ขนาดเล็ก ถ้าเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เข้าทำลายหนัก จะเห็นเป็นลักษณะยางๆที่ใบเพลี้ยไก่แจ้ส้มจะดูดกินน้ำเลี้ยงได้ตั้งแต่พืชตระกูลส้มทั้งหลาย เกษตรกรควรสังเกตตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตาและยอดอ่อน โดยตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้ส้มจะกลั่นสารสีขาวเป็นเส้นด้ายทำให้เกิดราดำ ใบและยอดที่ถูกเพลี้ยไก่แจ้ส้มทำลายจะหงิกงอและแห้งเหี่ยว กรณีพบการเข้าทำลายถึงขั้นรุนแรง จะทำให้ใบร่วงติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย และยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคกรีนนิ่ง ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะนาว ทำให้โรคมะนาวชนิดนี้แพร่กระจายไปเกือบทุกแหล่ง เป็นสาเหตุให้มะนาวทรุดโทรมและตายในที่สุด
ลักษณะ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม 🍋
- ระยะไข่ 4-5 วัน
- ระยะตัวอ่อน 11-25 วัน
- ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 30 วัน (ไม่มีดักแด้)
- ตัวเต็มวัย ลักษณะตัวเต็มวัย เป็นแมลงขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ความยาวจากหัวถึงปลายปีกประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร ขณะที่เกาะอยู่กับที่ ลำตัวของเพลี้ยจะทำมุม 45 องศา กับกิ่งหรือใบ วางไข่เป็นฟองเดี่ยวที่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อน ที่ยังไม่คลี่หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ไข่มีสีเหลืองเข้ม รูปร่างคล้ายขนมทองหยอด ปลายข้างหนึ่งมีก้านเล็ก ๆ ฝังติดกับเนื้อเยื่อพืชตัวอ่อนมีสีเหลืองค่อนข้างกลมแบนมีตาสีแดง 1 คู่ เห็นชัดเจน
วิธีป้องกันและกำจัด
- การป้องกันกำจัด ควรหมั่นสำรวจเพลี้ยไก่แจ้ส้มโดยการสุ่ม 5 ยอดต่อต้นจำนวน 10-20 ตันต่อสวนและสำรวจปริมาณตัวเต็มวัยโดยแขวนกับดักกาวเหนียวสีเหลืองบนต้นส้มเขียวหวานจำนวน 5 กับดักต่อไร่
2. สำรวจในแปลงและพืชอาหารชนิดอื่น เช่น ต้นแก้วที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ถ้าพบต้องทำการป้องกันกำจัดโดยวิธีการตัดยอดที่มีไข่และตัวอ่อนไปเผาทำลาย
3. ค่อยตรวจดูการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้มอย่างสม่ำเสมอ
4. แนะนำให้ป้องกันฉีดพ่นด้วย วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต ตัวช่วยให้พืชแข็งแรง โรคและแมลงไม่มาก่อกวน
โดยฉีดพ่น 5 วัน/ครั้ง ทำให้พืชปลอดโรคและแมลงศัตรูพืช
สารสกัดเข้มข้น ชีวภาพปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค