โรคราสีชมพู ภัยร้ายสวนทุเรียน
โรคราสีชมพู เกิดจากเชื้อรา คอร์ติเซียม(Corticium salmonicolor) เป็นสาเหตุที่เกิดโรคราสีชมพูในทุเรียน ซึ่งเป็นปัญหาพอสมควร ช่วงหน้าฝน ช่วงสภาวะที่ความชื้นสูง ฝนตกบ่อยๆ แสงแดดไม่ค่อยมี เชื้อราพวกนี้จะทำให้ทุเรียนได้รับความเสียหายพอสมควร พี่น้องสวนทุเรียนจะรู้จักดี
โรคราสีชมพูมีความสำคัญและทำความเสียหายในแหล่งปลูกทุเรียนที่มีความชื้นสูง ขาดการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื้อเจริญลุกลาม และก่อความเสียหายให้กับต้นทุเรียน นอกจากต้นทุเรียนแล้วเชื้อราคอร์ทีเซียมสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด
พบในไม้ผลหลายชนิด ทั้ง ทุเรียน เงาะ ลองกอง ลำไย และ ส้มโอ เป็นต้น ในแหล่งที่เคยเกิดโรคนี้แล้ว ในบางช่วงอาจจะไม่เห็นอาการ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการพัฒนาของโรค แต่เส้นใยหรือส่วนขยายพันธุ์ยังคงฝังแฝงตัวอยู่ตามกิ่งของพืช ดังนั้นในช่วงที่ตัดแต่งกิ่งควรตัดแต่งกิ่งที่มีอาการเพียงเล็กน้อยออกให้หมด และเมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วควรการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชสักครั้ง เพื่อไปควบคุมเชื้อที่อาจจะหลงเหลืออยู่ เพราะถ้าปล่อยไว้ไม่กำจัดออกไป เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็มีโอกาสจะเกิดการระบาดจะอย่างรวดเร็ว
อาการของโรค
ต้นทุเรียนที่เป็นโรคจะแสดงอาการสีเหลืองเป็นหย่อมๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง บางครั้งก็คล้ายๆเชื้อไฟทอปธอร่า ซึ่งทำให้เกิดอาการโคนเน่ารากเน่าของทุเรียน เชื้อพวกนี้ถ้ามีอายุมากขึ้น เส้นใยจากสีขาวจะกลายเป็นสีชมพูอ่อนๆ ถ้ากลายเป็นสีชมพูอ่อนๆแล้วจะเป็นลักษณะที่เชื้อแก่ตัวแล้ว ถ้าเกษตรกรท่านใดถาก ดูเนื้อไม้กิ่งทุเรียนที่เป็นโรคราสีชมพู เนื้อไม้ที่แห้งจะเป็นสีน้ำตาล เพราะเชื้อราเหล่านี้เข้าไปทำลายท่อน้ำ ท่ออาหาร และเซลล์ ทำให้เซลล์พวกนี้ตายลง
การแพร่ระบาด
โรคราสีชมพู พบระบาดมากในฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศมีความชื้นสูง มักพบเกิดขึ้นกับต้นทุเรียนที่ขาดการดูแล รักษาที่ดี ไม่มีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูในแปลงปลูก โดยเชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม หรือกิ่งที่ซ้อนกันหนาแน่น ทำให้เกิดการสะสมความชื้น ทำให้เชื้อราเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้นและก่อให้เกิดอาการกิ่งแห้งและใบเหลืองร่วง
การป้องกันและกำจัด
- ปรับสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อเชื้อโรค
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและเก็บส่วนที่เป็นโรคและเก็บใบทุเรียนที่ติดโรคร่วงหล่นลงพื้น นำไปเผาทำลาย
- ในฤดูฝนหมั่นสารวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการเริ่มของโรคที่กิ่งให้ถากหรือเฉือนส่วนที่เชื้อราเจริญออกให้หมด ถ้าเชื้อราเจริญเข้าไปใต้เปลือและลุกลามมากให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกและนำไปทำลายนอกแปลง ใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) 85% WP ผสมน้ำข้นๆ ทาบริเวณแผลที่ตั
- หมั่นตรวจดูแปลงทุเรียนและพืชอาศัยของโรคที่ปลูกร่วมอยู่ในแปลงเป็นประจำ หากพบอาการเริ่มต้นให้รีบทำการกำจัด
2. ฉีดพ่น วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต เพื่อให้ต้นทุเรียนแข็งแรง ไม่มีเชื้อรามารบกวน
หากต้นใดเป็นโรคแล้ว สามารถฉีดพ่นเพื่อรักษาให้อาการให้ดีขึ้นและหมดไปได้ โดย
✅รักษาฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง
✅ป้องกันฉีดพ่น 5 วัน/ครั้ง
ใช้ต่อเนื่องประมาณ 2 สัปดาห์ เน้นพ่นบริเวณที่เป็นโรคให้ชุ่มจะทำให้เห็นผลเร็ว