เพลี้ยสร้างความเสียหาย

อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร

อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร แมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชได้ตลอดทั้งปี สร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร คงหนีไม่พ้นพวกเพลี้ยชนิดต่าง ๆ วันนี้จึงขอรวมรวมชนิดของเพลี้ย 5 อันดับต้น ๆ ที่รบกวนเกษตรกร ได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อรับมือและป้องกันก่อนฤดูการเพาะปลูก

อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร

1. เพลี้ยไฟ มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีการเข้าทำลายพืชที่แตกต่างกัน ทั้งกินยอดอ่อน เจาะดูด กินดอกมะม่วง ดอกหลุดร่วง ไม่ติดผล เจาะดูด กินผล ผลไม่ได้รูปทรง ไม่สวย เพลี้ยไฟมีการเข้าทำลายมะม่วงเยอะมากเนื่องจากเป็นฤดูที่มะม่วงออกช่อดอก ซึ้งเป็นที่ชื่นชอบของเพลี้ยไฟ

ลักษณะของเพลี้ยไฟ

จะมีรูปร่างที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ  1 มิลลิเมตร ตัวอ่อน มีสีเหลือง ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนเหลืองเคลื่อนไหวรวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆบริเวณใบอ่อน ดอกก้าน ช่อดอก และผลอ่อน ระยะไข่ 4-7 วัน

เพลี้ยไฟเข้าทำลายพืชหลายชนิดทั้งพืชผัก ผลไม้ ไม้ดอก เช่น พริก แตง ฝัก มะเขือ มะม่วง มะคุด มังคุม ส้ม มะนาว กล้วยไข่ กุหลาบ โดยทำลายส่วนต่างๆของพืช คือยอดอ่อน ตาใบ ดอก และผล

การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณเยื่ออ่อน ถ้าเพลี้ยไฟระบาดในระยะดอก ทำให้ดอกแห้ง และร่วง ซึ้งเป็นผลทำให้การพัฒนาการของผล ลดลง พบมากในฤดูร้อนและอากาศแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

เพลี้ยอ่อน

2. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูพืชที่พบได้ในทั่วโลก มีการระบาดอย่างรวดเร็ว และจะพบน้อยในฤดูฝน เพลี้ยอ่อนจะพบเห็นอยู่ทั่วไปตลอดปี การกระจายตัวของเพลี้ยอ่อน เป็นแบบรวมกลุ่ม ปกติจะไม่เกิดการระบาดเพราะธรรมชาติคอยควบคุม เช่น ปริมาณน้ำฝน แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงหรือในฤดูแล้ง อากาศร้อนจะเกิดการระบาดของเพลี้ยอ่อน พบการระบาดได้กับพืชเกือบทุกชนิด ทั้งในผลไม้ ไม้ยืนต้น ผักและพืชไร่  เมื่อมีการเข้าทำลาย จะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตลดลง ทำให้ผลิตต่ำหรือไม่ได้ผลผลิตเลย

พืชที่เป็นอาหารของเพลี้ยอ่อน ไม้ดอกเช่น ดาวเรือง กุหลาบ

พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วต่างๆ พืชผักเช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ แตงต่างๆ

การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อน และดอก ทำให้หยิกงอ เป็นคลื่น ห่างมีการระบาดมากๆ จะทำให้ไม้ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ ไม่ออกดอก บริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาด มักจะพบเห็น มดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมามาก ทำให้เกิด “ราดำ”

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนดำแบ่งออกเป็น ชนิดปีกสั้นและชนิดปีกยาว อพยพเคลื่อนย้ายด้วยการอาศัยกระแสลมช่วย

ลักษณะการเข้าทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถเข้าทำลายด้วยการดูดน้ำเลี้ยง บริเวณโคนต้นเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลือง แห้งตายเป็นหย่อมๆ จะพบในระบาดแตกกอ ถึงออกรวง นอกจากนั้นยังเป็น พาหะนำโรคใบหงิกในนาข้าว เพลี้ยสีน้ำตาล ข้าวจะแสดงอาการเหลืองแห้ง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ซึ้งเป็นอาการเรียกว่า ไหม้เป็นหย่อมๆ ถ้ารุนแรงมาก จะทำต้นข้าวจะแห้งตาย

อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร

4. เพลี้ยแป้ง  ลักษณะตัวเป็นสีขาว คล้ายแป้งพืชที่เป็นอาหารของเพลี้ยแป้ง ได้แก่ มันสำปะหลัง ส้ม มะนาว มะเขือ แตง พริก มะม่วง

การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆเช่น ใบ ยอด ทำให้ลำต้นบิดเบี้ยว ผลผลิตลดลง หากการระบาดรุนแรง ยอดจะแห้งตาย การแพร่ระบาด จะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูร้อนมากกว่าฤดูฝน โดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหายรุนแรงให้เกษตรกร

5. เพลี้ยจักจั่น การระบาดมีด้วยกัน 2 ชนิดได้แก่ ตัวที่มีลำตัวเป็นสีเทาปนดำ และสีน้ำตาลปนเทา  พืชที่เป็นอาหารของเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ ข้าว มะม่วง ถั่วต่างๆ การเข้าทำลายตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก ก้านดอกและยอดอ่อน ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย ต้นแคระแกรน ขอบใบไหม้ ห่อขึ้นด้านบน อาจทำให้พืชตายทั้งแปลง การแพร่ระบาด ระบาดมากเมื่อฝนทิ้งช่วงนานๆหรือมีอากาศที่แห้งแล้งนานๆ

การป้องกันและกำจัดเพลี้ย ใช้วิธีผสมผสานจะช่วยให้ผลดีที่สุด หมั่นสำรวจแปรงพืช หากพบเจอไข่หรือตัวเพลี้ย ให้เก็บไปเผ่าทิ้ง ปลูกพืชหมุนเวียน เพียงตัดวงจรชีวิต ไม่ควรปลูกพืชติดต่อกัน ควรมีการพักดินเพื่อทำลายไข่และตัวเพลี้ย ที่อาศัยอยู่ในดิน สุดท้ายให้ใช้ วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต เพื่อป้องกันเพลี้ยที่จะเข้ามาทำลายพืช โดยคุณสมบัติทำให้พืชแข็งแรง โรคพืชและแมลงไม่มาก่อกวนพืชผล

Similar Posts