ระวัง!! โรคพืชใน… มะม่วง

มะม่วง 🥭 โรค แอนแทรคโนส หรือ โรคใบจุด ช่อดอกดำ ผลจุด ผลเน่า โอเตี้ยม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา คอลเลโตตริคัม ( Colletotrichum gloeosporiodes Penz. )

มะม่วง

ลักษณะอาการ ใบอ่อนไหม้บิดเบี้ยว ใบเป็นจุดสีน้ำตาลขอบสีเข้ม ถ้าเป็นระยะต้นกล้า จะเป็นจุดแผลสีน้ำตาล – ดำบนลำต้นหรือกิ่งอ่อน แผลจะมีลักษณะแข็งยุบตัวลงเล็กน้อย ถ้าเป็นกับดอก ก้านช่อดอก จะเป็นจุดแผลสีแดงหรือน้ำตาลแดง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแล้วกลายเป็นสีดำ

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่ระบาดได้ด้วยลมในสภาวะความชื้นสูงเชื้อราจะสามารถเจริญและเข้าทำลายส่วนอ่อนๆ ของพืช ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง แหล่งระบาดมักจะเป็นสวนมะม่วง ที่มีการปลูกระยะชิด มีทรงพุ่มแน่นทึบ มะม่วง ที่มีอายุมาก มะม่วง ที่ปลูกในสภาพยกร่องหรือส่วนที่มีสภาพความชื้นสูง

โรคราแป้ง สาเหตุจกเชื้อรา ( Oidium mangiferae Berthet ) มักเกิดในอากาศหนาวเย็น

มะม่วง

ลักษณะอาการ เชื้อจะเข้าทำลายที่ใบอ่อน โดยผิวด้านบนจะเป็นจุดแผลช้ำ มีสีผิดไปจากสีของเนื้อใบปกติเล็กน้อย ต่อมาจุดแผลจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาล และน้ำตาลไหม้ในที่สุด ซึ่งเป็นระยะที่ใบเริ่มแก่ ในบริเวณแผลจะพบผงสีขาวขึ้นฟูส่วนใหญ่ที่ผิวใบด้านล่าง ถ้าเกิดที่ก้านช่อดอกและดอก จะเห็นเป็นผงสีขาวปกคลุมดอกและช่อดอก ซึ่งต่อมาจะทำให้ดอกหลุดร่วงและเป็นแผลซ้ำที่ก้านช่อดอก ในแหล่งปลูกมะม่วงทั่วไป มักพบทำลายช่อดอกในฤดูหนาวประมาณเดือน ธันวาคม – มกราคม

การแพร่ระบาด

  1. สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม
  2. ติดไปกับอุปกรณ์การเกษตร
  3. ติดไปกับคนและสัตว์

โรคขั้วผลเน่าของผล มะม่วง หลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจาก เชื้อรา Botryodiplodia theobromae ไบทรัยโอดิพโพลเดีย พบในมะม่วงหลังเก็บเกี่ยว และมีความชื้นในบริเวณที่เก็บมะม่วง

มะม่วง

ลักษณะอาการ ผลเน่าบริเวณขั้วผลนี้มักจะพบเกิดกับมะม่วง หลังเก็บเกี่ยวเท่านั้น ลักษณะอาการเป็นจุดช้ำสีดำจางๆ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณขั้วผล จุดแผลดังกล่าวจะขยายตัวลุกลามอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการเน่าทั้งผลได้ในเวลาไม่กี่วัน แผลจะมีลักษณะเน่านิ่ม

การแพร่ระบาด

  1. สปอร์เชื้อปลิวไปตามลม
  2. ติดไปกับอุปกรณ์การเกษตร
  3. ติดไปกับคนและสัตว์

โรคราดำ ( Sooty mold )

สาเหตุ เชื้อราหลายชนิด ที่พบบ่อยๆ เช่น Capnodium sp. และ Meliola sp. พบช่วง ฤดูที่มะม่วงออกดอก

ลักษณะอาการ คราบสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ หรือส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น กิ่งอ่อน ช่อดอก ดอกและผลซึ่งพบบริเวณขั้วผล การเจริญของราดำบนใบจะไปบดบังการได้รับแสงของผิวใบ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วง เป็นอุปสรรคต่อการผสมเกสรของดอก ทำให้มะม่วงไม่ติดผล คราบดำที่เกาะติดทำให้ผิวผลไม่สวย ทำให้คุณภาพและราคาผลผลิตตกต่ำลงมาก

สาเหตุเริ่มจากการระบาดเข้าทำลายพืชของแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย หรือเพลี้ย แป้ง ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วถ่ายมูลออกมาเป็นสารคล้ายน้ำหวานโปรยลงมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่ด้าน ล่าง เป็นผลให้เชื้อราดำหลายชนิดที่มีอยู่ในอากาศสามารถเจริญเติบโตได้

การแพร่ระบาด

  1. สปอร์เชื้อราปลิวไปตาม
  2. ติดไปกับอุปกรณ์การเกษตร
  3. ติดไปกับคนและสัตว์

วิธีป้องกันและกำจัด

ป้องกันและรักษา เชื้อราในมะม่วง ด้วย ” วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต “

✅ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่เข้ามาทำให้พืชเกิดโรคและตายไปเวลาถัดไป

✅ ป้องกันและกำจัดโรคพืชได้ครบจบในซองเดียว

✅ สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสัตว์เลี้ยง

✅ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

อ่านบทความอื่นๆ “Click”

Similar Posts