มังคุด ระวังโรคผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว

โรคผลเน่า มังคุด

มังคุดโรคผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว

สำหรับปัญหาเรื่องโรคของ มังคุด นั้น เนื่องจากมังคุดเป็นผลไม้ ที่มียางจึงมีปัญหาทางด้านโรคน้อย โดยโรคที่พบคือโรคที่เข้าทำลายใบ ได้แก่ โรคใบจุด ถ้าสวนนั้นไม่มีการจัดการที่ดี ซึ่งโรคนี้ยังสามารถเข้า ทำลายส่วนของผลและลำต้นได้ โรคผลเน่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากการ เข้าทำลายของราหลายชนิด ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์กับ สภาพอากาศ ถ้าอุณหภูมิและความชื้นสูงราจะเจริญและเข้าทำลาย ได้ดี นอกจากนี้ ยังพบโรคที่เกิดจากราเข้าทำลายขั้วผลทำให้ ขั้วผลเน่า ซึ่งจะมีผลต่อโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว ส่วนอาการยางไหล อาการเนื้อแก้ว และอาการยางตกในเป็นอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และสรีรวิทยาของพืช

สาเหตุ

เกิดจากผลมังคุดได้รับการกระทบกระเทือนจากการเก็บเกี่ยว การขนส่งทำให้เกิดอาการ ยางตกในหรือเนื้อแก้ว ซึ่งเป็นสภาพเอื้ออำนวยให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชสามารถเข้าทำลายให้เกิดการ เน่าเสียได้ หรือเกิดจากสภาพการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม มีความร้อนและความขึ้นสูง รวมทั้งระยะเวลาในการเก็บรักษานาน เหล่านี้เป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เข้าทำลายทำให้เกิดอาการเน่าเสียภายในเนื้อผลได้ ซึ่งราที่มักพบเกี่ยวข้องกับอาการเน่าหลังเก็บเกี่ยว เช่น Colletotrichum gloeosporioides, Lasiodiplodia theobromae, Phomopsis sp. Graphium sp. และ Pestalotiopsis flagisetula เป็นต้น

ลักษณะอาการ

ทำให้เกิดอาการผลแข็ง เนื้อของมังคุดเปลี่ยนสี มีลักษณะช้ำ บางครั้งพบเส้นใยของราภายใน ผลมังคุดที่มีอาการเน่าเสียภายใน มักจะไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็นชัดเจนมากนัก นอกจากถ้าบีบ ผลดูจะพบอาการแห้งแข็งของเปลือกผล มีสาเหตุจากการกระทบกระแทกจากขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและ การขนส่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเปิดเปลือกดูภายในอาจจะพบราหลายชนิดหรือไม่พบเลยก็เป็นได้ ราที่พบเข้า ทำลายหลังเก็บเกี่ยวเป็นราปนเปื้อนที่มีอยู่ในอากาศทั่วไป เช่น รา L. theobromae มีลักษณะเส้นใย เป็นสีเทาดำ เป็นต้น แม้แต่รา P. agisetula ก็พบเข้าทำลายผลหลังเก็บเกี่ยวได้เช่นกัน

การแพร่ระบาด

อาการเน่าของเนื้อภายในผลจะพบภายหลังการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ในสภาพการ เก็บเกี่ยวแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง ส่วนใหญ่พบเกิดกับผลที่มีปัญหาเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง เกิดแผลหรือ รอยช้ำต่างๆ ซึ่งทำให้ราสามารถเข้าทำลายเนื้อผลภายในได้ง่าย การเน่าเสียของเนื้อภายในมังคุดเกิดได้น้อยมาก หากมีวิธีการเก็บเกี่ยวและการขนส่งมังคุดที่ดี ไม่ให้ผลได้รับความกระทบกระแทกและมีกรรมวิธีหลังเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง

การป้องกันและกำจัด

ผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกต้องการระยะเวลาในการขนส่งจนกว่าจะถึงปลายทางอาจเกิด ปัญหาการเน่าเสียในช่วงการวางตลาดได้ เกษตรกรผู้ปลูกควรต้องดูแลรักษาในเรื่องการป้องกันกำจัดโรคพืช ตั้งแต่ช่วงออกดอกและติดผลอ่อน โดยการฉีดพ่น#วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต

👉🏻 ช่วยให้พืชแข็งแรง โตไวป้องกันกำจัดโรคพืช เชื้อราทุกชนิด

👉🏻 บำรุงพืชให้แข็งแรง เติบโตไว

👉🏻 ใช้ได้ทั้งป้องกันและกำจัด

👉🏻 ฉีดได้กับพืชทุกชนิด ไม่เป็นอันตราย

ซองเดียว ครบจบ…!! ใช้ประโยชน์ต่อพืชได้มากมาย!!

👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง

บทความอื่นๆ

Similar Posts