มอด ในต้นทุเรียน
มอด ในต้นทุเรียน สภาพอากาศในช่วงนี้แดดแรงอากาศร้อนและแห้งในตอนกลางวันอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในตอนกลางคืน เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียน ในระยะ แตกใบอ่อน รับมือมอดเจาะลำต้น หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคนต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนที่ถูกทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรูพรุนตามโคนต้น และที่ปากรูมีมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไป มอดเจาะลำต้นเจาะเข้าไปกินในลำต้นหรือกิ่งลึกตั้งแต่ ๒-๓ เซนติเมตรขึ้นไป
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียนส่วนมากพบการเข้าทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งทุเรียนที่เป็นโรครากเน่า โคนเน่า ต้นทุเรียนที่ถูกทำลายจะสังเกตุเห็นรูพรุนตามโคนต้นและที่ปากรูจะมีมูลของหนอนเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไปรอยเจาะของมอดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เข้าทำลายซำหรือทำให้โรคแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของต้นทุเรียนและทำให้ต้นทุเรียนตายในที่สุด
รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาว มีสีดำมันปนน้ำตาล รูปร่างทรงกระบอก หัวและท้ายตัด ตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปที่กิ่งหรือลำต้นทำให้เป็นรูพรุน หลังจากผสมพันธุ์ตัวเมียจะวางไข่ เป็นกลุ่มประมาณ 5-8 ฟองในรูที่เจาะ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะกัดกินชอนไชภายในกิ่งและลำต้นทุเรียน และเข้าดักแด้อยู่ภายในรูที่มอดอาศัยอยู่นั่นเอง ต่อจากนั้นก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และ วางไข่ต่อไปอีก สาหรับด้วงชนิดนี้จะพบเพศเมียมากกว่าเพศผู้ถึง 10 เท่า เมื่อผสมพันธุ์แล้วเพศเมียจะ บินไปยังต้นอื่น แต่เพศผู้ไม่บิน วงจรชีวิตประมาณ 30-35 วัน และเพศเมียตัวหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ ได้ 30-50 ตัว
พบระบาดตลอดปีในบริเวณที่ปลูกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัด จันทบุรี ระยอง และตราด เกือบทุกสวนจะพบมอดชนิดนี้ พบการระบาดของมอด ร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่ามาก เนื่องจากมีฝนตกชุกตลอดปี
ลักษณะการทำลาย
หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบการทำลายบริเวณ โคนต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะสังเกตเห็นรูพรุนตามโคนต้นและที่ปากรูพบมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไป มอดจะเจาะเข้าไปกินในลำต้นหรือกิ่งลึก 2-3 เซนติเมตร ในทุเรียนต้นเล็กอาจทำให้ตายได้ สำหรับทุเรียนต้นใหญ่ถ้าการทำลายไม่มากจะไม่เป็นอันตราย แต่รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลายทำให้ทุเรียนเกิดโรคดังกล่าวและอาจตายได้ นอกจากนี้เนื่องจากมีรายงานว่ามอดชนิดนี้อาศัยร่วมกับเชื้อราสกุลฟิวซาเรียมดังข้อมูลข้างต้น ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกิ่งแห้งในทุเรียน และทุเรียนยืนต้นตายได้ด้วย
การแพร่กระจายมอดเจาะต้นทุเรียน พบเจอได้ใน ไทย บังคลาเทศ จีน กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซียญี่ปุน ลาว มาดากัสกา มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิจิ นิวกินี ฮาวาย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
วิธีป้องกันและกำจัด
1. หมั่นตรวจดูตามต้นทุเรียนถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลายควรตัดและเผาไฟทิ้งเสียอย่างปล่อยทิ้งไว้ให้มอดขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณและระบาดไปยังต้นอื่นๆ
2. สำหรับส่วนของต้นทุเรียนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้เช่นลำต้นหรือกิ่งใหญ่อาจจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงเช่น #ไทอะมีทอกแซม25ดับเบิลยูจี หมั่นตรวจดูตามลำต้นทุเรียน ถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดเจาะลำต้นทำลาย ควรตัดและเผาทิ้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้มอดเจาะลำต้น ขยายปริมาณและการทำลายออกไปยังต้นอื่นๆ
3. สร้างต้นพืชให้แข็งแรง ใส่ปุ๋ยบำรุง
👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง