พืชเครียด สาเหตุและวิธีแก้ไข
พืชเครียด พืชมีการแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดต่างๆ ได้หลายประการ เช่น เมื่อพืชเกิดความเครียดจากความเค็ม จะแสดงอาการใบเหลือง เกิดการตายของแผ่นใบ ส่งผลให้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง และทำให้การเติบโตลดลง โดยเมื่อรับความเค็มรุนแรงขึ้น จะมีการแสดงอาการผิดปกติมากขึ้น (ภาพที่ 2) หรือเมื่อพืชเครียด จากภาวะการขาดน้ำ พืชตอบสนองโดยเกิดอาการใบเหี่ยว ซึ่งพืชสามารถกลับมาเจริญเติบโตได้ตามปกติได้ หากความเครียดนั้นหายไป โดยความเครียดที่ได้รับนั้นต้องไม่รุนแรง และได้รับในระยะเวลาอันสั้น แต่หากความเครียดที่ได้รับนั้นรุนแรง และระยะเวลายาวนาน พืชจะไม่สามารถกลับมาเจริญเติบโตได้ตามปกติ แม้ความเครียดนั้นจะหายไป เช่น เมื่อพืชขาดน้ำ 2 วัน มีอาการใบเหี่ยว หากได้รับน้ำในวันที่ 3 อาการเหี่ยวจะหายไป แต่หากพืชขาดน้ำ 1 สัปดาห์ แม้จะได้รับน้ำเพียงใด อาการเหี่ยวก็ไม่หายไป เป็นต้น
โดยทั่วไปความเครียดส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีผลกระทบต่อสารชีวโมเลกุลต่างๆ ในพืช เช่น ส่งผลต่อโครงสร้างและสมบัติของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้สูญเสียสมบัติความเป็นเยื่อเลือกผ่าน ส่งผลให้โปรตีนเสื่อมสภาพ สาย DNA เกิดการแตกหัก เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการแมแทบอลิซึมต่างๆ ภายในเซลล์ ทำให้การเจริญเติบโตลดลง หรือหยุดชะงักลง จนอาจทำให้พืชตายในที่สุด
การตอบสนองของพืชภายใต้สภาวะเครียด สามารถจำแนกพืชออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพืชที่ไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อได้รับความเครียด ซึ่งจะตายในที่สุด และกลุ่มพืชที่มีการปรับตัวเมื่อได้รับความเครียด จะสามารถมีชีวิตรอดได้ การปรับตัวของพืชเพื่อการอยู่รอด เมื่อได้รับสภาวะเครียด มี 2 รูปแบบหลัก คือ การหลบหนี และการต้านทาน
พืชโตช้า ดอกร่วง ใบเหี่ยว ใบเหลืองสีซีด นั่นเป็นสัญญาณเตือนของอาการพืชเครียด ลดความเครียดให้พืชใช้ #ฟูกรีน
– เพิ่มพลังงานให้กับราก ใบ ผล ของพืชการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
– ทำให้แตกรากป้องกัน ต้นพืชโทรมหลังการเก็บเกี่ยว
— บรรจุ 50 กรัม ราคา 69 บาท – –สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อได้ที่▸ เพจ :สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง
ราคาส่ง ▸ โทร : 065-929-9845
▸ ไลน์ : @sp0659299845