8 โรคทุเรียนยอดฮิตทำสวนปังเป็นพัง
ทุเรียน ที่เกษตรกรควรระมัดระวังคือ โรคพืชที่มักตามมาจากหลากหลายสาเหตุ รู้ไว้ดีกว่าก่อนส่วนจะ “พัง” มาดูกันว่ามีโรคพืชอะไรที่มักพบบ่อยในสวนทุเรียน
- โรครากเน่า / โคนเน่า
ลักษณะอาการ ใบจะไม่เป็นมันสดใสเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างๆ จะเริ่มเป็นจุดประเหลืองแล้วค่อยๆ หลุด ร่วงไป ต้นทรุดโทรมและตาย เกิดอาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะ ติด เห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเข้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหล ออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง และน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้ เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อถากเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยาง จะเห็นเนื้อเยื่อ เปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการโรคใบจุดสนิมเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อ รากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย
- โรคผลเน่า
ลักษณะอาการ
บริเวณปลายผล หรือกันผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี
ไปตามรูปร่างผล แผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง
ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งแก่ โดยเฉพาะเมื่อผลใกล้แก่
จะเป็นช่วงตันฤดูฝนซึ่งมักจะเกิดลมพายุฝนพัดพาเอาเชื้อที่ติดอยู่กับดินขึ้นไปเกาะติดบนผล ทุเรียน ที่ติดอยู่
บนต้น และเข้าทำลายทำให้เกิดแผลเน่าได้ ซึ่งบริเวณที่เชื้อเข้าทำลายส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณก้นผล
เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความชื้นสูงกว่าบริเวณอื่น
- โรคใบติดหรือใบไหม้
ลักษณะอาการ
พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและ
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร์ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใย
ของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือ
แต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้น ทุเรียน เสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืช
ระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุก
- โรคใบจุดสนิม
ลักษณะอาการ
พบจุดฟูสีเขียวแกมเหลืองของสาหร่าย ขอบของจุดเหล่านี้จะไม่เรียบ และมีลักษณะเป็นแฉก ๆ
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม จุดจะขยายใหญ่ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม สาหร่ายที่พบไม่มี
ผลกระทบที่รุนแรงต่อการเจริญของ ทุเรียน นอกจากจะบดบังเนื้อที่ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงให้น้อยลง
การแพร่ระบาด
ระบาดมากในแปลงทุเรียนที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ และสภาพความชื้นสูง
- โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน
ลักษณะอาการ
เมื่อมองดูจากนอกทรงพุ่ม จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่า
ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม
โคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อรา
ปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดมากในสภาพความชื้นสูง
- โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ
พบกลุ่มของเชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้งปกคลุมผิวเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผล
ทุเรียนได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่จำหน่ายได้ ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆ
ก็อาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วงหล่นได้ หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวของทุเรียนผิดปกติ
ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง
การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดทางลมในระยะที่อากาศเย็นและแห้งแล้ง
- โรคราดำ
ลักษณะอาการ
ผลทุเรียนมีราสีดำเจริญเป็นจุด ๆ หรือปกคลุมกระจายทั่วผล จุดมักรวมตัวกันทำให้เห็นเป็นปื้นดำ
ทำให้ผิวผลทุเรียนไม่สะอาด และมีราคาตกต่ำลง
การแพร่ระบาด
มักพบแมลงจำพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง มีการขับถ่ายสารเหนียวๆ ลงบนผล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ
และมักพบราดำในสภาพความชื้นสูง โดยพบกับต้นทุเรียนที่มีพุ่มแน่นทึบ
- โรคดอกและผลร่วง
โรคนี้อาจนับได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญเพราะมีผลกระทบโดยตรงกับปริมาณผลผลิตที่เกษตรกร
จะได้รับหลังจากดูแลรักษาต้นทุเรียนโดยการให้น้ำให้ปุ๋ยป้องกันกำจัดโรคและแมลงมาเกือบตลอดปี แต่ก็มัก
พบเสมอว่าในบางปีที่ทุเรียนหลังจากที่ออกดอกแล้ว มีปัญหาดอกร่วงก่อนบานดอกแห้ง หรือดอกบานแล้ว
ไม่ติดผล หรือติดผลแล้วแต่ผลอ่อนร่วงง่าย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีปัจจัยปลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อกา รร่วง
ของดอกและผล ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีอาจแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัย
ต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการร่วงของดอกหรือผลทุเรียนมีดังนี้
- การร่วงของดอกในขณะดอกตูม อาจเนื่องมาจากความชื้นในอากาศต่ำในช่วงทุเรียนออกดอก
โดยเฉพาะสวนที่มีสภาพลมแรงพัดผ่าน ซึ่งจะทำให้ความชื้นในแปลงปลูกน้อยลง การให้น้ำอาจไม่เพียงพอ
กับความต้องการของต้นทุเรียนที่จะนำไปเลี้ยงดอก ก็จะทำให้ดอกแห้งและหลุดร่วงได้ง่าย - การให้น้ำที่ไม่เหมาะสมในช่วงทุเรียนออกดอก การให้น้ำน้อยเกินไปทำให้ดอกแห้งและร่วงหล่น
แล้ว บางครั้งการให้น้ำมากเกินไปทำให้ทุเรียนทิ้งดอก และมีการแตกใบอ่อนได้ - การที่ทุเรียนออกดอกหลายๆ รุ่นในต้นเดียวกัน ทำให้ต้นพืชนำน้ำและธาตุอาหารไปเลี้ยงดอก
ที่ออกรุ่นใหม่มากกว่า เป็นผลให้รุ่นเก่าไม่มีน้ำและอาหารเพียงพอ เกิดการหลุดร่วงได้ - มีแมลงพวกเพลี้ยไฟ หรือไรแดงเข้าทำลายดอก
- การผสมเกสรของทุเรียนแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะพัธุ์ชะนี มีการผสมเกสรที่ไม่
สมบูรณ์ เนื่องจากเกสรตัวผู้ยาวกว่าเกสรตัวเมีย ในสภาพที่ดอกคว่ำลงโอกาสที่เกสรตัวผู้จะไปติดกับปลาย
เกสรตัวเมียนั้นมีน้อยมาก จึงทำให้ทุเรียนชะนีติดผลยาก โดยเฉพาะหากมีฝนตกในช่วงดอกบาน มักพบ
การติดผลน้อยกว่าปกติ ซึ่งการติดผลน้อยของทุเรียนในลักษณะนี้อาจจะแก้ไขได้ด้วยการช่วยผสมเกสร
โดยใช้เกสรตัวผู้จากดอกทุเรียนพันธุ์อื่น เช่น หมอนทอง ซึ่งติดผลง่ายกว่าชะนี และผลไม่หลุดร่วงง่าย
การช่วยผสมเกสรนี้จะทำให้รูปทรงของผลทุเรียนสมบูรณ์ ไม่มีพูที่แฟบหรือมีก็น้อย
🪴 ป้องกันและกำจัด โรคพืชด้วย ชีวภาพ #วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต จบทุกปัญหาเชื้อราในโรคพืช
ติดต่อสั่งซื้อสินค้า ได้ที่ เพจ Facebook : วัคซีนซุปเปอร์ไบโอฟิต หรือ โทร 065-929-9845