หนอนชอนใบ ศัตรูพืชที่ต้องระวัง

หนอนชอนใบเกษตรกรและชาวสวนหลายคน มักจะได้ยินบ่อยๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นศัตรูธรรมชาติของพืช ซึ่งหนอนชอนใบนั้นจะสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วขึ้น เมื่อมีสภาพอากาศร้อนชื้น หรือฝนตก ดังนั้น เกษตรกรและชาวสวนต้องทำความเข้าใจและรู้จักกับหนอนชอนใบ เพื่อป้องกันไม่ให้พืชพันธุ์นั้นเกิดความเสียหาย

วงจรชีวิตของหนอนชอนใบนั้นคือ เริ่มจากระยะที่เป็นไข่ ก่อนจะฟักตัวเป็นหนอนแล้วค่อยๆกลับเข้าสู่ระยะดักแด้ แล้วค่อยกลายเป็นตัวเต็มวัยและกลับมาวางไข่อีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 3-5 สัปดาห์เท่านั้น ระยะที่สร้างความเสียหายแก่พืชที่ทำการปลูก ไว้นั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะย่อยด้วยกัน โดยในระยะแรกนั้นจะมีลำตัวสีเหลืองนวลปนเทา ลำตัวนั้นจะยังไม่มีขา แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะที่สอง จะเริ่มมีขนขึ้นตามอกและท้อง พอเข้าสู่ระยะที่สามและสี่ จุดต่าง ๆ บนลำตัวจะหายไป และปรากฏเป็นปุ่มขึ้นมาแทน เมื่อมาถึงระยะสุดท้าย จากหนอนชอนใบจะเริ่มเข้าสู่ระยะดักแด้ เพื่อเตรียมการฟักตัวเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย หนอนชอนใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllocnistis citrella Stainon ซึ่งหนอนชอนใบนั้นจะมีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีจุดสังเกตและข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันไป ได้แก่

1.หนอนชอนใบส้ม และหนอนชอนใบมะนาว

2.หนอนชอนใบมันเทศ และหนอนชอนใบมันฝรั่ง

3.หนอนชอนใบมะเขือเทศ

4.หนอนชอนใบถั่วฝักยาว

5.หนอนชอนใบผัก

หนอนชอนใบ

การแพร่ระบาด

หนอนชอนใบ นั้นไม่ได้มีการแพร่ระบาดแค่ในประเทศไทยเท่านั้น สำหรับต่างประเทศเองก็มีหลักฐาน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเช่นกัน อย่างประเทศอเมริกา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฮาวาย และประเทศญี่ปุ่นที่มีการปลูกพืชจำพวกมันเทศ มันฝรั่ง ซึ่งหนอนชอนใบนั้นจะเข้าไปทำลายเนื้อที่อยู่ระหว่างผิวใบโดยการกินเกือบหมด ซึ่งส่งผลทำให้ใบนั้นเริ่มแห้งเหี่ยวลง สีของใบจากเขียวขจีก็ค่อยๆกลายเป็นสีดำคล้ำ คล้ายโดนไฟไหม้

ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าสำหรับการแพร่ระบาดของหนอนชอนใบนั้น จะมีการระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ซึ่งอัตราความเสียหายจากการทำลายพืชในฤดูฝนนั้นสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันฤดูหนาวเองก็มีการแพร่ระบาดของหนอนชอนใบ แต่อัตราความเสียหายจากการทำลายพืชในฤดูฝนนั้นสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหนอนชอนใบนั้นมีการแพร่ระบาดมากในหมู่พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น มะเขือเทศ ดอกเบญจมาศ ส้ม และไม้ดอกเกือบทุกสายพันธุ์

การป้องกันกำจัด

จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ทำให้หลายคนตระหนักได้ถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของหนอนชอนใบ ดังนั้นหากไม่มีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชชนิดนี้แล้วนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูกอยู่เป็นจำนวนมาก สำนักงานเกษตรอำเภอกระทุ่มแบน ได้มีการแนะนำวิธีการป้องกันเบื้องต้นที่เกษตรกรและชาวสวนหลายคนสามารถทำได้นั่นก็คือ

  1. ต้องทำการบังคับยอดของพืชที่ปลูกนั้นแตกพร้อมกัน เพื่อที่เกษตรกรเองสามารถช่วยควบคุมประชากรของหนอนชอนใบได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่านี้ยังทำให้เกษตรกรนั้นสะดวกในการดูแลรักษาพืชที่ปลูก เพราะวิธีนี้ยังช่วยลดจำนวนครั้งและปริมาณการใช้สารเคมีเพื่อการแตกยอดแต่ละรุ่น แต่หากเกิดเริ่มมีการระบาดของหนอนชอนใบแล้วนั้น ทางเกษตรกรเองควรจะทำการสังเกตว่าใบไหนของพืช ที่มีลักษณะการทำลายของหนอนชอนใบ เมื่อพบแล้วควรเก็บทำลายทิ้งทันที
  2. นอกจากนี้วิธีกลเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย นั่นก็คือการเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายโดยหนอนใบชอนตามพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี เพราะว่าบางครั้งดักแด้ของหนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินก็จะถูกเผาทำลายไปด้วย

แต่หากว่าเมื่อทำการสำรวจแล้วพบว่า หนอนชอนใบได้เข้ามาแพร่ระบาดสู่บริเวณพื้นที่ที่มีการปลูกมากเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากยอดสำรวจพื้นที่ที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรควรจะทำการพ่นสารฆ่าแมลง เพื่อระงับการแพร่ระบาดของหนอนชอนใบได้ทันท่วงที

📣📣 วันนี้บริษัทสองแสงจันทร์ ขอแนะนำตัวช่วยอีกวิธีที่ช่วยป้องกันและกำจัดแมลง ศัตรูพืช ที่เข้ามาทำลายพืชสวน ทำให้ได้รับความเสียหายและพืชต้องเป็นโรคและตายลงไป 🐛🪲🦗

………..เพียงใช้ #ไทอะมีทอกแซม25ดับเบิลยูจี ตัวช่วยในการกำจัดเพลี้ย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยทุกชนิด

และ #อีมาเมกตินเบนโซเอต สารกำจัดหนอน หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ หนอนทุกชนิด

👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง

บทความอื่นๆ

Similar Posts