ลีลาวดี โรคราสนิม
ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือ ของทวีปอเมริกาใต้ เดิมมีชื่อว่า ลั่นทม จึงมีความเชื่อ ว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อ เป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ‘ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมือง อื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น ในประเทศไทย ลีลาวดีนำเข้ามาจากเขมร เมื่อ คราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ จึงเรียกชื่อเป็นที่ระลึก ว่า “ลั่นธม” ซึ่ง “ลั่น” แปลว่า ตี “ธม” หมายถึง “นครธม” ภายหลังเพี้ยนเป็น “ลั่นทม” ลีลาวดีมี สีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีอายุได้ถึง 100 ปี เป็นไม้ประดับที่มี ผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ ผ่านมา เนื่องจากความงามของทรงต้น ใบ และ ดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรูงพันธุ์แล้ว จะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมี กลิ่นหอม ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร หลังจากเป็นที่ รู้จักและคุ้นหูในนามของ “ลีลาวดี” จึงเป็นที่ ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัด ภูมิทัศน์และจัดสวน ด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่อง ของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมา ปลูกลีลาวดีเพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน สามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ

ลักษณะอาการ
เชื้อราเข้าทำลายบริเวณใบกลางอ่อน กลาง แก่ (เพสลาด) จนถึงใบแก่ อาการเริ่มแรกพบจุด เล็กๆ สีเหลืองอ่อน บริเวณผิวหน้าใบ เมื่อพลิก ด้านหลังใบจะพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อราที่เรียกว่า พัสตูล (pustule) ลักษณะจุดนูน สีเหลืองเข้ม ขึ้น เป็นจุดๆ กระจัดกระจายทั่วทั้งใบ เมื่อแก่ จุดนูน จะปริแตกออก ปล่อยผงสปอร์ออกมาจำนวนมาก เมื่อเขย่าใบ กลุ่มสปอร์ดังกล่าวจะฟุ้งกระจายไปทั่ว บางครั้งเมื่อสังเกตุดูบริเวณลำต้นจะเห็นผงสปอร์
สีเหลืองตกแผ่กระจาย ทำให้เห็นเป็นสีเหลืองทั่ว บริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดแผลจะลามติดกัน เกิดเป็นลักษณะแผลไหม้ ทำให้ใบลีลาวดีร่วงหล่น หมดเกือบทั้งตัน บางครั้งเชื้อราอาจลุกลามเข้า บริเวณตาดอก ทำให้การติดดอกลดลง ถ้าเชื้อเข้า ทำลายใบที่ยังไม่แก่มากนักจะทำให้ใบบิดเบี้ยว ก่อนร่วงหล่น ในพันธุ์ที่อ่อนแอ เชื้อราอาจเข้าทำลาย ในส่วนตายอด ทำให้ตายอดแห้งตาย ถึงแม้โรคนี้ จะไม่ทำให้ลีลาวดีที่มีอายุมากๆ ถึงตาย แต่จะ ทำให้ใบและทรงพุ่มของลีลาวดีสูญเสียความงดงาม ลงไปมาก เนื่องจากเมื่อมองขึ้นไปที่บนต้นที่เป็นโรค จะเห็นใบของลีลาวดีที่เคยเป็นเงามันสดใส เปลี่ยน เป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลแห้งไหมั บิดเบี้ยวและ ร่วงหล่นในที่สุด
การแพร่ระบาด
โรคระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน สภาพความ ขึ้นสูงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม โดยสปอร์ฟุ้งกระจายไปตามแรงลม หยดน้ำฝน หรือเครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ และการสัมผัส
การป้องกันและกำจัด
- งดการให้น้ำระยะหนึง เพื่อลดความชื้นบริเวณ รอบๆ ต้น
- ถ้าต้นที่มีทรงพุ่มไม่สูงมาก ควรเก็บใบที่เริ่มแสดง อาการโรคออกจากต้นให้หมด โดยค่อย ๆ บิดใบ ด้วยความระมัดระวังเบาๆ เนื่องจากสปอร์สามารถ ฟุ้งกระจายได้ง่ายในอากาศ พยายามอย่าสัมผัส ผงสปอร์ หากใบที่เป็นโรคมีจำนวนไม่มากเกินไป ควรเก็บใส่ถุงและปิดปากให้แน่นก่อนการเผา ทำลาย
- ในกรณีที่เป็นต้นขนาดใหญ่และมีใบที่เป็นโรค จำนวนมาก จนไม่สามารถเด็ดใบทิ้งได้ทั้งหมด ควรเก็บกวาดใบที่เป็นโรคบริเวณโคนต้นและ ใบส่วนที่เก็บถึงให้มากที่สุด และนำไปเผา ทำลาย
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ในกรณีที่ยังปลูกเป็นไม้กระถาง ควรเคลื่อนย้าย มาอยู่ในที่แห้ง แดดจัด ลมพัดผ่านได้ง่าย
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบอาการของ โรคเริ่มปรากฏ ด้วยสารไตรอะดิมิฟอน 25% ดับเบิลยูพี อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นห่างกันประมาณ 10-15 วัน เป็นเวลา 3- 4 ครั้ง ก่อนพ่นควรเด็ดใบที่เป็นโรคทิ้งออก ให้หมดหรือมากที่สุดเท่าที่ทำได้

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า ได้ที่ เพจ Facebook : วัคซีนซุปเปอร์ไบโอฟิต หรือ โทร 065-929-9845