ทุเรียน โรคพืชและแมลงศัตรูพืช

ปัญหาในการปลูกทุเรียนที่สำคัญปัญหาหนึ่งคือ ศัตรูทุเรียน โรคและแมลงเป็นศัตรูยืนที่ระบาดทำลายทุเรียน บางชนิดทำให้ตันทุเรียนตาย บางชนิดทำให้ผลผลิตลตลง และบางชนิดทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพหรือผลผลิตเสียหาย ทำให้ไม่สามารถรับประทานได้ ศัตรูพืชบางชนิตส่งผลต่อกาวส่งออกทุเรียนไปยังต่างประเทศ บางประเทศใช้เป็นเงื่อนใช้ในการกดราคา บางประเทศใช้เป็นงื่อนไขกีดกันทางการค้า ดังนั้นเกษตรกรทุกคน ควรศึกษาโรคพืชและศัตรูพืชกันไว้ก่อน มาดูกันว่ามีโรคพืชและแมลงศัตรูที่เกษตรกรควรระมัดระวัง..

ทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่า

1. โรครากเน่าโคนเน่า

  • ใบทุเรียน ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ เกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่าง รวดเร็วแล้วค่อย ๆ ร่วงไป
  • อาการที่ลำต้นและกิ่งทุเรียน โคนต้นพบแผลเน่าสีน้ำตาลเข้มถึงดำ และอาจพบเมือกสีน้ำตาลอมแดงไหลเยิ้มบริเวณแผล หากไม่รักษาแผลจะลุกลาม รอบโคนต้นทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย

วิธีจัดการ

  1. ปรับสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อเชื้อโรค อย่าให้มีน้ำขังและ บริเวณโคนต้นโดยการขุดร่อง ระบายน้ำ
  2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและเก็บส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
  3. กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น
  4. ไม่นำเครื่องจักรหรือสัตว์เลี้ยงลงเหยีบย่ำบริเวณทรงพุ่ม
  5. ปรับ pH ดินให้อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 เช่น ใส่ปูนขาว หรือโคไลไมท์ในดินที่มีความเป็นด่าง
  6. บำรุงต้นให้แข็งแรง ให้ทุเรียนได้รับน้ำอากาศ และธาตุอาหาร อย่างเหมาะสม
ทุเรียน โรคใบติด

2. โรคใบติด

  • ใบที่เป็นโรคจะมีจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่เป็นกระจุก และเส้นใยของเชื้อราสามารถลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกันได้

    การแพร่ระบาด  
          เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากกิ่ง ก้าน ใบทุเรียนที่อยู่ในแปลง และแพร่ระบาดเข้าทำลายช่วงระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุกหรือมีความชื้นสูง

วิธีจัดการ

  1. ปรับสภาพสวนไม่ให้เอื้ออำนวยต่อเชื้อโรค ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและเก็บส่วนที่ติดโรคร่วงหล่นพื้น นำไปเผาทำลาย
  2. ไม่ควรปลูกทุเรียนให้ชิดกันเกินไปเพราะจะทำให้ทรงพุ่มชนกันเกิดโรคติดต่อกันได้ง่าย
  3. ช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง ฉีดพ่นด้วย วัคซีนพืชซุปเปอร์ไบโอฟิต

โรคราชมพู

  • เชื้อราเจริญเติบโตบนกิ่งและง่ามกิ่งหรือลำต้น เริ่มต้นจะเห็นเส้นใยสีขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู กิ่งและลำต้นเปลือกผุล่อน เนื้อไม้ภายในเป็นสีน้ำตาล กิ่งที่เป็นโรคใบเหลืองร่วงหากเป็นรอบกิ่งจะแห้งตาย

วิธีจัดการ

ดูแลรักษาต้นทุเรียน ให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น แต่งกิ่งที่แน่นทีบออก และทำการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกไม่ให้รกทึบ ในฤดูฝนหมั่นสารวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการเริ่มของโรคที่กิ่งให้ถากหรือเฉือนส่วนที่เชื้อราเจริญออกให้หมด ถ้าเชื้อราเจริญเข้าไปใต้เปลือกและลุกลามมากให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกและนำไปทำลายนอกแปลง

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของ ทุเรียน 🪲🐛

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

  • เป็นแมลงศัตรูที่มีความสำคัญและทำความเสียหายต่อผลผลิต ทุเรียน ในเขตภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญ สันนิษฐานว่าหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ประเทศมาเลเซียแล้วระบาดเข้ามาทาง ภาคใต้ของประเทศไทย หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายภายในผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้จึงเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรจะเห็นแต่รูที่หนอนเจาะออกมาแต่ไม่พบตัวหนอนอยู่ภายใน หรือบางกรณีจะพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว

ด้วงหนวดยาว

  • ด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่โดยฝังไว้ใต้เปลือกต้นทุเรียน หนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้เกิดยางไหล หนอนอาจควั่นเปลือกจนรอบลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม ใบเหลืองร่วง และตายได้ แหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศไทยส่วนใหญ่พบว่าด้วงหนวดยาวทำลายทุเรียนพันธุ์หมอนทอง การระบาดค่อยๆ สะสมความรุนแรง เนื่องจากเป็นแมลงกลางคืน พฤติกรรมต่างๆจึงมักเกิดในช่วงกลางคืน เกษตรกรจึงไม่ทราบว่ามีการระบาดของด้วงหนวดยาว

เพลี้ยไก่แจ้

  • ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของ ทุเรียน ทำความเสียหาย ให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆ จะทำให้ใบหงิก งอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก ใบยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียนเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราตามบริเวณ  ที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา ระยะตัวอ่อนเป็นระยะที่แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายมากที่สุด นอกจากนี้ แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับ ทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

เพลี้ยไฟ

  • การทําลายทุเรียน ในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ําเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยูตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ําตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ ในระยะดอกอ่อนและดอกบานจะพบเพลี้ยไฟตามดอก ถ้าดอกบานจะอาศัยอยูตามเกสร กลีบดอก ทําให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์  และดอกร่วง ระยะห้างแย้ไหม้-ผลอ่อน จะพบตามซอกหนามทุเรียนทําให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อลูกโตจะเป็นทุเรียนหนามจีบหรือหนามติด ส่งผลให้ราคาตก

วิธีดูแลและป้องกัน

ฉีดพ่นด้วย ไทอะมีทอกแซม 25 ดับเบิลยูจี (สารกำจัดเพลี้ย)

  • สามารถกำจัดเพลี้ยได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย

ขนาด 100 กรัม

และ อีมาเมกตินเบนโซเอต ตัวช่วยปัญหาแมลง หนอน มาทำลายพืชสวน
ประโยชน์ :ป้องกันกำจัด หนอนผีเสื้อ หนอนเจาะลูก หนอนเจาะฝัก หนอน หนอนกระทู้หอม หนอนหนังเหนียว หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เพลี้ยไฟ ไร ด้วงหมัดผัก ดวงหมัดกระโดด
การออกฤทธิ์: สัมผัส และดูดซึม

ขนาด 100 กรัม

👉🏻 สนใจติดต่อสอบถามและสั่งซื้อได้ที่  สองแสงจันทร์ ปุ๋ย ยา ราคาส่ง

บทความอื่นๆ

Similar Posts